น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเพาะปลูกมังคุล

การเพาะปลูกมังคุด

มังคุด


การปลูก 
ต้นกล้าที่นำมาปลูก ควรมีความสมบูรณ์ โดยใบคู่สุดท้าย ควรจะเป็นใบที่แก่เต็มที่แล้ว และ ควรเป็นต้นกล้าที่มีอายุประมาณไม่เกิน 2 ปี มีระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง ก่อนปลูกควรตัด ใบให้เหลือครึ่งใบทุก ๆ ใบ เพื่อลดการคายน้ำ นำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุม ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิม แล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นมาเล็กน้อย ใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกยึดต้นมังคุดไว้กับหลักเพื่อป้องกัน ลมพัดโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก การปล่อยให้ต้นไม้ที่ยังไม่ตั้งตัวถูก ลมพัดโยกไปมา โดยไม่มีหลักยึดจะทำให้ระบบรากไม่เจริญ และต้นมังคุดจะชะงักการเจริญเติบโตมีเปอร์เซนต์ การตายสูง นอกจากนี้แล้วต้นมังคุดที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูงต้องใช้ทางมะพร้าว หรือจากช่วยพรางแสงแดดให้กับต้นมังคุด จนกว่าจะมีขนาดโตพอประมาณและตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยปลดออก ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 ปี 

ในระหว่างที่รอมังคุดใหัผลผลิตในระยะ 1-4 ปีแรก อาจจะปลูกพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ โดยการ ปลูกพืชผักหรือไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด เป็นต้น ในสวนที่ไม่ได้ปลูกพืชแซมควรปล่อยให้ มีหญ้าขึ้นตามธรรมชาติและคอยควบคุม โดยการตัด หรืออาจจะปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาหน้าดิน และ ความชื้นภายในดิน เช่น ถั่วลาย เพอราเลีย คุดชู (หรือซีลูเรียม) ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2-3 กก./ไร่ และต้องคอยคุมไม่ให้เถาเลื้อยพันต้นมังคุด 

การให้น้ำ 

ต้นมังคุดปลูกใหม่ในระยะแรก จะขาดน้ำไม่ได้ ต้องคอยดูแลรดน้ำ ให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หากฝนไม่ตก หลังจากนั้นเมื่อต้นมังคุดตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้าง ปริมาณและความถี่ ของการให้น้ำขึ้นกับสภาพความชื้นของดินและเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่นหญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณ โคนต้นเพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน 

สำหรับมังคุดต้นโตและให้ผลผลิตแล้ว ยังจำเป็นต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ในช่วง ปลายฤดูฝนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวฝนจะตกน้อยลงต้องดูแลเป็นพิเศษ (ประมาณเดือนพฤศจิกายน ในภาคตะวัน ออกและเดือนมกราคมในภาคใต้) เพราะช่วงนี้มังคุดต้องการสภาพแห้งแล้ง เพื่อพักตัวและสะสมอาหารเตรียม การออกดอก ให้กำจัดวัชพืชและทำความสะอาดบริเวณโคนต้นเพื่อช่วยให้ดินแห้งเร็วขึ้น ควบคุมการให้น้ำโดย ให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ต้องระวังอย่างดน้ำจนใบมังคุดเหี่ยวเฉา และเมื่อต้นมังคุดผ่านสภาวะแห้งแล้ง มาได้ระยะหนึ่ง มังคุดจะเริ่มทะยอยออกดอกและติดผลในเวลาต่อมาตลอดช่วงการเจริญของผลมังคุดต้อง ดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมออาจจะให้วันเว้นวันหรือวันเว้นสองวัน เพื่อให้มังคุดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และ ป้องกันปัญหาเรื่องผลแตกยางไหล ในกรณีที่ให้น้ำโดยการลากสายยางรดควรพ่นน้ำเข้าไปในทรงพุ่มให้ทั่ว จะช่วยลดการทำลายของเพลี้ยไฟและไรแดง ได้บ้าง 

ระบบการให้น้ำถ้าเป็นสวนไม่ใหญ่นักอาจจะ ใช้วิธีลากสายยางรดน้ำได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาด ใหญ่ควรมีการวางระบบการให้น้ำในแต่ละต้นด้วย หัวเหวี่ยงขนาดเล็กก็จะสะดวกขึ้นและเป็นการ ประหยัดเวลาและ แรงงานในการให้น้ำ ตลอดจนประหยัดน้ำได้เป็นอย่างดี 

การใส่ปุ๋ย 

การใส่ปุ๋ยมังคุดที่ยังไม่ไห้ผล ให้ใส่ปุ๋ยบัวทิพย์ สูตร 2 ในต้นมังคุดที่มี อายุ 1-2 ปี ให้ใส่ปุ๋ยประมาณ 1/2-1 กิโลกรัม/ต้น และเพิ่มขึ้นประมาณ 1/2 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชแล้วและใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 
การใส่ปุ๋ยมังคุดที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา โดยจะให้ใน 3 ช่วง ดังนี้ 
การใส่ปุ๋ยหลังเก็บผลเสร็จแล้ว จะต้องรีบตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชโดยเร็ว และให้ใส่ปุ๋ยบัวทิพย์ สูตร2 ต้นละ 2-3 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ เช่นมูลสัตว์เก่าต้นละ 2-3 ปี๊บ การใส่ปุ๋ยครั้งนี้จะตรงกับช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกัน น้ำฝนชะพาให้ปุ๋ยสูญเสีย ควรใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ โดยใช้จอบขุดดินเป็นหลุมหยอดปุ๋ยแล้วกลบปิด ปากหลุม ทำเป็นระยะ ๆ รอบทรงพุ่ม หลังจากนั้นแล้วมังคุดจะเริ่มแตกใบอ่อน ซึ่งลักษณะการแตกใบอ่อนในสภาพ ธรรมชาตินั้นมังคุดจะทะยอยแตกใบอ่อน จะไม่แตกพร้อมกันในทีเดียว ซึ่งเกษตรกรจะต้องคอยระมัดระวัง ตรวจดูการทำลายของโรคแมลง และทำการป้องกันกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อให้ใบอ่อนของมังคุดได้พัฒนา ไปเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ต่อไป ตามปกติมังคุดจะแตกใบอ่อน 1-2 ครั้ง ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อออกดอก ในรอบต่อไป

ที่มา:http://myveget.com/35/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94.asp

การเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์

การเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์


การเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์

1. ประวัติการทำการเกษตรของพื้นที่ ก่อนเลือกพื้นที่ผลิตพืชอินทรีย์ จะต้องทราบประวัติการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ย สารเคมี และความสำเร็จของการใช้พื้นที่ เป็นต้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนการผลิต
2. ที่ตั้งของพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ห่างจากถนนหลวง โรงงาน เพื่อป้องกันมลพิษและไม่ควรอยุ่ติดแปลงปลูกพืชที่มีการใช้สารเคมี

3. ความเหมาะสมของพื้นที่ต่อพืชที่จะปลูก  ผู้ที่จะผลิตพืชอินทรีย์   จะต้องทราบแล้วว่าจะปลูกพืชล้มลุกหรือพืชยืนต้น  การปลูกพืชล้มลุก    ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
ความลึกของหน้าดิน แต่ไม้ยืนต้นต้องการหน้าดินที่ลึกและต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ
4. แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้กับพืชจะต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน จะเป็นน้ำใต้ดิน สระ แม่น้ำ ลำคลอง หรือน้ำชลประทานก็ได้  ควรทำการวิเคราะห์คุณสมบัติ
ของน้ำก่อน
5. ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ พื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติ เช่น พื้นที่เปิดใหม่ ความสำเร็จในการผลิตพืชอินทรีย์จะสูง  ดังนั้นจึงควรเลือกพื้นที่ที่ดิน
มีความอุดมสมบูรณ์ สำหรับที่ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ควรจะปลูกพืชบำรุงดินประกอบกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์

การวางแผนจัดการ

การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ แบ่งเป็น
1.  การวางแผนการป้องกันการปนเปื้อน ที่ปะปนมาทางดิน น้ำ และอากาศ โดยวางแผนอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน และมีการบันทึกวิธีปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
การ ป้องกันสารปนเปื้อนระดับฟาร์ม อาจทำการปลูกพืชเป็นแนวกันชนระหว่างแปลงให้ปลอดภัยจากสารพิษที่มาจากแหล่ง ของเสีย หรือระบบการกำจัดของเสีย ระบบระบายน้ำ ระบบการเก็บรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ และการขนส่งเข้าออกฟาร์ม
2. การวางแผนการจัดการ แปลงปลูกพืชและระบบการปลูกพืช อาจทำโดยใช้พันธุ์พืชต้านทานศัตรูพืช การเลือกฤดูปลูกและระบบปลูกพืชที่เหมาะสม รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ ที่สอดคล้องกับหลักการเกษตรอินทรีย์ ในการปฏิบัติทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมแปลงจนถึงการเก็บเกี่ยว

การเลือกพันธุ์

1. ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อศัตรูพืชและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ห้ามใช้พันธุ์พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม และ/หรือผ่านการอาบรังสี
3. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรมาจากระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์

ข้อมูลโดย : โครงการเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร


แหล่งการเรียนรู้การปลูกพืชสมุนไพร









ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=lpvA5byYyvE

วัชพืชที่เป็นสมุนไพร

หญ้าหนวดแมว ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์), พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์) ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. ชื่อสามัญ Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers วงศ์ LAMIACEAE (LABIATAE) เป็นพืชอายุสั้น
ขยายพันธุ์โดยการปักชำ ใบเหมือนใบโหระพา แต่ขอบใบหยัก ออกดอกที่ปลายยอดดอกเป็นช่อสีขาวอมม่วง เกสรยื่นยาวออกมาเหมือนหนวดแมว สวยงามมาก สรรพคุณทางยาใช้ได้ทั้งราก ใบ และทั้งต้น ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถแยกสรรพคุณได้ดังนี้
ราก - ขับปัสสาวะ ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต วิธีใช้ในการขับปัสสาวะ คือ ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือนหรือจะใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90 - 120 กรัม แห้ง 40 - 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร มีรสขมหน่อยนะคะ
มีข้อควรระวัง คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
เรียบเรียงโดย นางปาลิตา โตศรีสวัสดิ์เกษม . 27 / 5 / 53. ศว.สระแก้ว
ข้อมูลอ้างอิง : เภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรอินทรีย์

        การผลิตพืชอินทรีย์
 -
  
    หน้าแรก    กรมวิชาการเกษตร      
-
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรอินทรีย์ 
          มนุษย์รู้จักการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรมานับพันปีแล้ว  โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการแปรรูปผลผลิต  การผลิตอาหาร การปรับปรุงบำรุงดิน และการป้องกัน
กำจัดโรคและศัตรูพืช ในช่วง 3 ทศวรรษมานี้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรมากขึ้น  ซึ่งอาจจะแยกประเภทของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเกษตรออก
เป็น 5 ประเภท คือ

  1. ประเภทที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น เห็ดชนิดต่างๆ
  2. ประเภทที่ใช้ในการแปรรูปผลผลิต เช่น ยีสต์ เชื้อรา ฯลฯ
  3. ประเภทที่ใช้ในการปรับปรุงดิน เช่น ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ฯลฯ
  4. ประเภทที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เชื้อ bacillus thuringieneses, เชื้อไวรัส NPV Nuclelar Polyhedrosis Virus, เชื้อราEntomophthora
    grylli
     เป็นต้น
  5. ประเภทที่ใช้ในการสร้างพลังงาน เช่น จุลินทรีย์ที่ใช้ทำก๊าซชีวภาพ
จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมีนั้น  จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยทดแทนการใช้สารเคมีได้
มาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสามารถจะใช้ทดแทนสารเคมีการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว ที่กล่าวมานี้มิใช่จะเกินความเป็นจริง เพราะได้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติมาแล้วดังนี้คือ
            ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องจุลินทรีย์จากสามาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี
                อาจารย์ภรณ์  ภูมิพันนา  สตรีที่อดีตเคยเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาของเธอให้กับการเกษตรธรรมชาติ
ให้ชักนำ Mr. Han Kyu Cho เกษตรกรชาวเกาหลีซึ่งเป็นประธานของสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี (The Korean Natural Farming Association –
KNFA) ให้ได้มีโอกาสมาเสนอความรู้ในเรื่องการใช้จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organism-IMO) แก่เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนโดยได้จัดการบรรยาย
ขึ้นที่กรมวิชาการเกษตรและสถานที่ต่างๆ ในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม 2540  จากความรู้ที่ได้รับจาก Mr. Cho ในครั้งนั้น กลุ่มของนักวิชาการและเกษตรกรไทยได้นำไปทดลอง
ปฏิบัติทั้งผลิตและใช้  รวมทั้งบางรายสามารถจะผลิตเพื่อจำหน่ายได้ด้วย   และด้วยความมหัศจรรย์ของ IMO  ในการปรับปรุงบำรุงดิน    การทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อการ
ทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช  รวมทั้งการช่วยขจัดสิ่งปฏิกูลทั้งในน้ำและในกองขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จึงทำให้เกษตรกรและประชาชนจำนวนมากได้นำไปใช้จากการ
เผยแพร่ของกลุ่มนักวิชาการ และนักปฏิบัติที่ได้ตั้งเป็นชมรมเกษตรธรรมชาติ จนขณะนี้มีผู้นำไปใช้อย่างได้ผลอย่างกว้างขวางในเวลาเพียงสามปีเศษเท่านั้น Koyama, A (1996) ได้รายงานไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า Mr. Cho ได้แยกผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ พื้นฐานออกเป็น 5 ชนิด คือ

                1. จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organisms)
                        สามารถจะเก็บได้จากธรรมชาติโดยใช้ข้าวหุงสุกแล้วใส่จานหรือถาดเกลี่ยให้หนาประมาณ 3 เซนติเมตร ปิดด้วยกระดาษ แล้วนำไปใส่ในกรง เพื่อกันหนูหรือสัตว์
อื่นมากิน  แล้วนำไปตั้งทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ในป่าละเมาะ หรือภายในกองใบไม้แห้งที่มีผ้าพลาสติกคลุม เพื่อกันฝนและน้ำค้างที่มากเกินไป ทิ้งไว้ 5-6 วัน  จะมีราสีขาวขึ้นคลุมหน้า  จาก
นั้นให้เทข้าวใส่ในโถกระเบื้องดินเผา  ผสมกับน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล สัดส่วน 1/3  ของน้ำหนักข้าว  ส่วนผสมนั้นจะกลายเป็นของเหลวข้นมีจุลินทรีย์เจริญอยู่มากมาย แล้วนำ
ของเหลวนี้ไปผสมกับรำข้าวในสัดส่วนร้อยละ 0.2   ใช้กระสอบป่านคลุมจะเกิดความร้อน  ต้องคอยควบคุมไม่ให้ความชื้นเกิดกว่าร้อยละ 65  แต่ถ้าแห้งเกินไปก็ให้พรมน้ำ ทิ้งไว้
2-3 วัน  จึงเอาไปคลุกผสมกับปุ๋ยคอก   มูลสัตว์ในปริมาณ 30 - 50 เท่า    แล้วคลุมไว้ประมาณ 3 สัปดาห์   ก็จะได้ปุ๋ยหมักสมบูรณ์     นำไปใส่ปรับปรุงดินประมาณ 1 กิโลกรัม /
1ตารางเมตร สำหรับการปลูกผักอินทรีย์

                2. น้ำหมักพืช (Fermented Plant Juice-FPJ)
                        ขณะที่คนไทยเรียกว่าน้ำสกัดชีวภาพ (Bio-Extract-B.E.)  ผลิตภัณฑ์นี้ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีสรรพคุณที่หลากหลายเช่นเดียวกับสาร อี.เอ็ม. วิธีการก็คือนำ
เศษพืช    ถ้าหากเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ปลูกอยู่ก็จะดี  และไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนของพืชที่จะใช้เป็นอาหาร   แต่อาจจะเป็นเศษเหลือที่จะทิ้งแล้วก็ได้   ในปริมาณ 3 ส่วนต่อน้ำตาล
ทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน  สำหรับเศษพืชนั้นควรจะสับให้มีขนาดเล็ก 2-3 นิ้ว แล้วใส่ในภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากันภาชนะไม่จำกัดชนิดและขนาดในสวนผักบางแห่งใช้วง
ซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 เมตร สำหรับทำบ่อส้วม จำนวน 3 วง มาเชื่อมต่อกันเป็นภาชนะ  โดยมีทอเปิดด้านล่าง  เมื่อหมักได้ที่  ซึ่งจะใช้เวลา 5-7 วันก็จะ
ได้น้ำหมักพืชหรือน้ำสกัดชีวภาพตามต้องการ  น้ำหมักพืชนี้จะต้องนำไปเจือจางในน้ำธรรมดาในอัตรา 1:1,000  1 ช้อนแกง (10 ซีซี) ต่อน้ำ 10 ลิตร (1,000 ซีซี) ใช้รดพืชผัก
และใช้รดลงในดินที่ปลูกพืช

                3.  ซีรั่ม ของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum, LAS)
                       เตรียมได้จากการดึงเอาจุลินทรีย์ในอากาศมาอยู่ในน้ำซาวข้าว  แล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงในน้ำนมอีกให้เกิดเป็น ซีรั่มของกรดแล็คติค     ใช้น้ำหมักนี้ในการพ่นลงบน
ใบพืชให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันโรคพืช

                4. กรดอะมิโนจากปลา (Fish Amino acid, FAA)
                       ทำได้จากการนำเอกเศษปลามาผสมกับน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน 1/1 หมักทิ้งไว้ 30 วันหรือนานกว่าก็ได้ (หรืออาจจะใช้กากน้ำตาล) น้ำจากการหมักนี้จะเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนให้กับพืชอย่างดีเยี่ยม

                5.  สุราหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar)
                       สุราเกิดจากการหมักของข้าวกล้อง  หรือถ้าไม่มีก็น่าจะใช้สุราขาวที่มีขายโดยทั่วไป นำมาผสมน้ำให้เจือจาง ฉีดพ่นบนใบพืชจะทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรค
พืชได้
                *  เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์  รวมทั้งจุลินทรีย์สร้างขึ้นในขบวนการหมัก (fermentation) มีหน้าที่ช่วยในการทำงานของทุกระบบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด  สิ่งมีชีวิต   จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์   เอนไซม์บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์  จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อ
จุลินทรีย์เองและต้นไม้
                *  ฮอร์โมน  เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในคนและสัตว์  ฮอร์โมนในพืช
ชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ จี.เอ. หรือจิบเบอร์เรลลิค (Giberellic) อ๊อคซิน (Auxin) จุลินทรีย์ก็สามารถผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว
            ความเข้าใจต่อบทบาทจุลินทรีย์ 

            จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรย์หลายชนิดรวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกัน
และกัน จุลินทรีย์มีความหลากหลายของชนิดที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด เย็นจัดหรือแห้งแล้งจัด แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดด้วยเทคนิค
จุลินทรีย์การปลูกพืชอินทรีย์ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองเกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ได้จากซากสัตว์
และพืช  รวมทั้งซากของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นธาตุอาหารสำหรับจุลินทรีย์เองและพืชก็จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้า
ไปทางรากในรูปแบบของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน กลูโคส ไวตามิน ฮอร์โมนและแร่ธาตุ เป็นต้น

            ประสบการณ์ของคนไทยในการพัฒนาจุลินทรีย์หมักดอง
            นับตั้งแต่  Mr. Han Kyo Cho  ประธานสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี   ได้มาเปิดเผยเคล็ดลับของการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น  (IMO = Indigenous
Micro-organism   ในการทำน้ำหมักพืช  เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา    คนได้ที่ได้รับความรู้ดังกล่าวได้นำไปทดสอบ ทดลอง ปรับปรุง พัฒนากันอย่างกว้างขวาง
บางคนก็เห็นว่าความรู้นี้เป็นประโยชน์มากมายทั้งในด้านการเกษตร การรักษาโรค การบำบัดน้ำเสีย และสิ่งโสโครก ฯลฯ และได้มาฟรี จึงพยายามถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้มีความรู้
นี้สืบทอดต่อกัน จนแพร่หลายไปทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้
การผลิตน้ำสกัดชีวภาพจากพืช

               น้ำสกัดชีวภาพ   คือ น้ำที่ได้จากการหมักพืชอวบน้ำ   เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ     น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์  และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด
จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสต์ แบคทีเรียสร้างกรดแลกติก และพวกราแบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ

               1. 
วัสดุและอุปกรณ์ 
                    1.1 ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบหรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้
                    1.2 น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาจใช้กากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูก
                    1.3 พืชอวบน้ำทุกชนิด   เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน  ถ้าเก็บจากไร่ – สวน ที่สดจากต้นในเวลาเช้าตรู่ได้เท่าใดก็ยิ่งดี    รวมทั้งเปลือกผักผลไม้อวบน้ำที่สดไม่เน่า
                           เปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน และเปลือกมะม่วง เป็นต้น
                    1.4 วัสดุมีน้ำหนักใช้ในการกดทับ เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหิน

               2. วิธีทำ 
                    2.1 นำพืช ผัก ผลไม้ ตามข้อ 1.3 หั่นหรือสับให้เป็นชิ้นขนาด 1-2 นิ้ว แล้วนำผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วน ต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน
                           คลุกให้เข้ากัน  หรือถ้ามีปริมาณมากจะโดยทับสลับกันเป็นชั้นๆ ก็ได้  ในกรณีผักผลไม้ที่ใช้หมักเป็นชนิดที่ไม่อวบน้ำ      ควรเติมน้ำพอให้อยู่ระดับเดียวกับผัก
                           ผลไม้ที่อยู่ในภาชนะ
                    2.2 ใช้วัสดุมีน้ำหนัก ตามข้อ 1.4  วางทับบนพืชผักที่หมัก   เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืช
                           ผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
                    2.3 ปิดภาชนะที่หมักให้สนิทถ้าเป็นถุงพลาสติก ก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้  เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมัก
                           ดองลงไปทำงาน
                     *หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน  จะมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ (ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้และน้ำตาลที่ใช้หมัก)  เกิดขึ้นจากการละลายของน้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของ
                           พืชผักน้ำตาล และน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์  จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมาย    พร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิด   ดังกล่าวข้างต้น
                           ของเหลวที่ได้เรียกว่า “น้ำสกัดชีวภาพ” 

                    2.4 ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน  เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณพอประมาณ ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติก  น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ
                           กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์  จะมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เกิดขึ้นในภาชนะ ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ
                    *ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ผัก ผลไม้ ที่ใช้หมัก   ซึ่งจะมีน้ำอยู่ร้อยละ 95-98 
                    2.5 ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม     อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆ   น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว   ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้
                           หลายๆ เดือน
                    2.6 กากที่เหลือจากการหมัก  สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ได้ หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้  ในกรณีต้องการหมักต่อ
                           โดยใช้กากที่เหลือ อาจจะเติมผักผลไม้ลงไปเพิ่ม  พร้อมกับเพิ่มปริมาณน้ำตาลตามสัดส่วน 1:3 ลงไปก็ได้
                    2.7 น้ำสกัดชีภาพที่มีคุณภาพดี  จะมีกลิ่นหมักดอง และมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง     มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก  ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพ
                           จะมีรสเปรี้ยว  แต่ถ้าหากเกิดกลิ่นเหม็นเน่าเกิดขึ้น แสดงว่าปริมาณน้ำตาลที่ใช้น้อยเกินไป ให้เติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปให้มากขึ้น

               3. วิธีใช้ในพืช 
                    3.1 ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน (1 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร) รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ แล้วให้ไหลลงดินรอบต้นไม้ เพื่อ
                           ให้จุลินทรีย์ลงไปช่วยทำงานในดิน
                    3.2 ควรทำในตอนเช้าหรือเย็น
                    3.3 ควรใช้อย่างสม่ำเสมอ และในดินควรมีอินทรียวัตถุอย่างเพียงพอ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น
                    3.4 ใช้ได้กับพืชทุกชนิด  น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์

ประโยชน์
               นอกจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นจุลินทรีย์ที่ช่วยอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ที่ช่วยกำจัดโรคพืชแล้วในน้ำสกัดชีวภาพยังประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ หลากหลายชนิด
เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ    เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์    เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง   และเป็นอาหารของต้นพืช
อย่างไรก็ตาม  ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น  จะเป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าใช้ในปริมาณเล็กน้อย  ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไปก็อาจจะทำให้ต้นไม้เฉาตายได้   ฉะนั้น
จำเป็นต้องใช้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นเป็นสารที่เพิ่มความต้านทานให้แก่พืช ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพ เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

               น้ำสกัดชีวภาพ  ช่วยสร้างความต้านทานแก่พืชเพื่อสู้กับศัตรูพืช  ถึงแม้มีโรคและแมลงมารบกวนก็จะไม่เกิดความเสียหาย  เนื่องจากพืชมีความแข็งแรงเช่นเดียวกับ
มนุษย์ที่แข็งแรงก็จะไม่เจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม น้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักผลไม้ผสมสมุนไพรจะช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อศัตรูพืชได้ผลดียิ่งขึ้น

               วิธีทำ       
                    1.  วิธีทำน้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและรักษาศัตรูพืชก็เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ใช้ผลไม้หมักทั้งหมด  ผลไม้ใช้ได้ทั้งดิบและ
                         สุก หรือเปลือกผลไม้ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงหินพานต์ จะยิ่งดี
                                    
                    2.  สมุนไพรที่ต้องการใช้ร่วมกับน้ำสกัดชีวภา   ได้แก่ ใบสะเดา ตะไคร้หอม ฟ้าทะลายโจร กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า และยาสูบเป็นต้น นำมา
                         ทุบหรือตำให้แตก ใส่น้ำให้ท่วม หมักไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพร นำไปกรองเอาแต่น้ำ
            
               วิธีใช้
               -  
ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราน้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน น้ำสมุนไพร 1 ส่วน และน้ำ 200-500 ส่วน
                    -  ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้ตั้งแต่ต้นพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนอย่างต่อเนื่อง
                    -  ควรฉีดพ่นในตอนเช้าหรือเย็น หรือหลังฝนตก
การผลิตปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์น้ำ

ในปัจจุบันมีเศษของสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์ และศัตรูพืชเหลือทิ้งให้เป็นขยะที่สร้างกลิ่นรบกวนแก่ผู้ที่อยู่ในบริเวณข้างเคียง  และผู้รับผิดชอบต้องเสียค่าใช้
จ่ายในการบำบัดขยะเหล่านั้นอีกมากมายด้วย แต่ถ้าหากได้นำสิ่งเหลือใช้เหล่านั้น มาผ่านขบวนการหมักด้วยน้ำตาลและจุลินทรีย์ที่ดีก็จะเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ย
ที่มีประโยชน์
นอกจากนี้สัตว์น้ำบางชนิดที่เป็นศัตรูของพืช  เช่น หอยเชอรี่ ศัตรูพืชในนาข้าวที่ทำลายต้นข้าวให้เสียหาย  แต่ในปัจจุบันชาวนาที่ฉลาดในหลายๆ ท้องที่ได้นำหอย
เชอรี่มาหมักกับกากน้ำตาลเป็นน้ำหมักชีวภาพใช้ในการบำรุงต้นไม้และช่วยลดการระบาดของโรคและศัตรูพืชได้ดีอีกด้วย
               วิธีทำ
                    1. นำปลาหรือเศษปลามาสับให้เป็นชิ้นขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ในกรณีที่ใช้หอยเชอรี่ ให้ทุบหรือบดด้วยเครื่องบด   แต่ในบางโอกาสที่ไม่ต้องการเสียเวลาก็อาจ
                         จะใช้หอยเชอรี่ทั้งตัว  โดยไม่ต้องทุบหรือบดก็ได้  แต่การหมักจะต้องใช้เวลานานกว่าปกติ (ไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือน)
                    2. นำปลาหรือหอยเชอรี่ ตามข้อ 1 ผสมกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน 1:1  โดยน้ำหนัก  ผสมให้เข้ากันดี  โดยจะผสมในภาชนะที่จัดไว้ผสมโดยเฉพาะ หรือทำใน
                         ภาชนะที่ใช้หมักก็ได้  ขนาดบรรจุของภาชนะที่ใช้หมักอาจแตกต่างกันตามต้องการอาจจะเป็นขนาด 20, 50, 100 หรือ 200 ลิตร   ก็ได้ตามปริมาณการใช้
                         ที่ต้องการหลังจากนั้นให้เติมหัวเชื้อน้ำสกัดชีวภาพที่ทำจากสับปะรดในอัตรา 1 ต่อ 10 ของปริมาตรส่วนของผสมของปลากับหอย และน้ำตาลที่คลุกเคล้ากัน
                          แล้ว  ในระหว่างการหมักหากมีกลิ่นเหม็นแสดงว่าใส่น้ำตาลน้อยเกินไป    ควรเติมน้ำตาลเข้าไปให้มากขึ้น   แล้วกวนให้เข้ากับส่วนผสมเดิมให้คลุกเคล้ากันดี
                    * อนึ่ง  ระหว่างการหมักอาจจะใช้เครื่องเติมอากาศที่ใช้กับตู้ปลาสวยงาม เพื่อให้ออกซิเจนในการหมักเพิ่มอัตราเร็วขึ้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ของผู้ที่ผลิตเป็นการ
                         ค้าที่ทำอยู่ในขณะนี้ 

                    3. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน  จึงเอาน้ำที่ได้มาผสมน้ำในสัดส่วน 1:500  ถึง 1:1,000 หรือประมาณ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้เป็นฝอยให้เคลือบใบ
                         พืช และใส่ลงดินที่โคนต้นพืช
การผลิตปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ

               ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีในน้ำสกัดชีวภาพ  จนเกิดการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ และช่วยใน
การปรับปรุงดิน  ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช

วัสดุทำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ
  1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
  2. แกลบดำ (ที่ผ่านการเผา) 1 ส่วน
  3. อินทรียวัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื้อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
  4. รำละเอียด 1 ส่วน
  5. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน+น้ำตาล 1 ส่วน-น้ำ 100 ส่วน คนจนละลายเข้าด้วยกัน
วิธีทำ
  1. นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นขั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
  2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพ น้ำตาล และน้ำใส่บัว ราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วจนได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป
  3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 4-5 วัน ก็นำไปใช้ได้
  4. วิธีหมักทำได้ 3 วิธี คือ
    4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก
           แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน  หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ทิ้งไว้ 5-7 วัน
    4.3 บรรจุในที่สานด้วยไม้ไผ่ สามารถถ่ายเทความร้อนได้รอบด้าน โดยใช้กระสอบปิดด้านบนไว้ 5-7 วัน
               ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพที่ได้จากการเตรียมดังกล่าว   จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพแต่อยู่ในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมี
กลิ่นของดินที่ไม่เหม็น   มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อน  อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส   ถ้าหากให้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิด
ความร้อนสูงเกินไปด้วย  ฉะนั้นความชื้นที่ให้ต้องพอดีประมาณร้อยละ 30 (สังเกตจากการกำวัตถุที่หมักพอจับกันเป็นก้อนไม่เหลวผ่านซอกนิ้วออกมา) ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพเมื่อ
แห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน  โดยเก็บไว้ในที่แห้งในร่ม 

วิธีใช้
  1. ผสมปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
  2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 1 กำมือ
  3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้งหรือฟางแล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
  4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง  ครั้งละ 1 กำมือ
               การนำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัด   และได้ผลอีกวิธีหนึ่งก็คือ     ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเสียก่อน   ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักแห้ง
ชีวภาพ 1 ส่วนต่อปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไรก็ไม่เป็นผลเสีย อย่าลืมด้วยว่าเทคนิค
จุลินทรีย์ เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกปริมาณมากเช่นที่เราเคยปฏิบัติมาใช้เพียง 1 ใน 4 ก็พอแล้ว  หรือขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุที่มีอยู่แล้วในดิน  ถ้ามีอยู่มากเรา
ก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอยู่น้อยเราก็ใส่มากหน่อยหรือบ่อยหน่อย ตามปกติในการทำปุ๋ยหมักจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์  แต่ถ้าใช้น้ำสกัดชีวภาพ
เป็นตัวเร่งจะได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ภายใน 7-15 วัน

หมายเหตุ  
ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ คือ  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก     ที่มีการย่อยสลายอินทรียวัตถุอย่างสมบูรณ์ เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเหมาะ  เชื้อจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลาย
อินทรียวัตถุในดินให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้    จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมากๆ แต่ในดินต้องมีอินทรียวัตถุพวกปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง  และใบไม้แห้ง
และมีความชื้นอย่างเพียงพอ   ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ   ตรงกันข้ามถ้าให้ครั้งละมากเกินไป      อาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ปริมาณที่พอเหมาะนั้น  สำหรับการปลูกโดยทั่วไปจะใช้รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือต่อต้น หรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1-2 ตารางเมตร


"เหงา คิดถึง รอ"

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System)

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) 
เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง  ๆ 
ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว์
หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ
และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์
กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร
ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้ง
ในสวนผลไม้   เป็นต้น
 
รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน

1. แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่เป็นหลัก

1.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก

ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก

1.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก

ซึ่งการดำเนินการเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก

1.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก

ซึ่งจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก
1.4ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร
เป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตร

2. แบ่งตามวิธีการดำเนินการ

2.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี
ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่างๆ
2.2 ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี
ียาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์
คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืชคลุมดิน
2.3ระบบการเกษตรธรรมชาติเป็นระบบการเกษตรที่ใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่
ประสานความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

3. แบ่งตามประเภทของพืชสำคัญเป็นหลัก
 
 3.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก
 3.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีพืชไร่เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช
 เช่น ลักษณะการปลูกพืชตระกูลถั่ว แซมในแถวพืชหลัก
 .3 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นพืชหลัก
 การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น การใช้ไม้ผลต่างชนิด ปลูกแซม
   

 

 
 













 
 
 
 
4. แบ่งตามลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนด
  

4.1 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง
ลักษณะของพื้นที่จะอยู่ในที่ของภูเขาซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าแต่ได้ถูกหักล้างถางพง
ฉะนั้นรูปแบบของการทำการเกษตรผสมผสานจะช่วยรักษาหรือชะลอความสูญเสียลงได้ระดับหนึ่ง
 การดำเนินการอาจทำในรูปของวนเกษตร การปลูกไม้ผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ผสมผสาน
4.2 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนอาศัยน้ำฝน
มีการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นไม้ผลยืนต้น ข้าวไร่
การจัดการในรูปผสมผสาน
4.3 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน โดยทั่วไปในพื้นที่ดอนจะมีการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจต่างๆ
เชิงเดี่ยวเป็นหลัก ลักษณะของการทำการเกษตรผสมผสานอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
ลักษณะการปลูกพืชแซม โดยใช้พืชตระกูลถั่วแซม
4.4 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าวแบบแผนการปลูกพืช
ส่วนใหญ่จะเป็นข้าว อย่างเดียว ข้าว-ข้าว, ข้าว-พืชไร่เศรษฐกิจ, ข้าว-พืชผักเศรษฐกิจ, พืชผัก-ข้าว-พืชไร่,
พืชไร่-ข้าว-พืชไร่ เป็นต้น


ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของดิฉัน

บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัวที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันภาคเรียนที่ 1/2555