น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการ 1 ไร่ 1 แสน

ไร่พอเพียง

การทำปุ๋ยหมักแบบง่ายๆๆ

การปลูกไม้ผลระยะชิด

การตัดแต่งกิ่งลำไย

ลำไย

การปลูกไม้ผล

แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช

ประวัติการศึกษาโรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย
(History of plant pathogenic bacteria)

          ค.ศ. 1683 Antonie van Leeuwenhoek ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ทำให้มองเห็นแบคทีเรียเป็นครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นยังมีความเชื่อในทฤษฎี spontaneous generation กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง” ในปี 1861 Louis Pasteur จึงพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
          ค.ศ.1876 Louis Pasteur และ Robert Koch ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโรค anthrax ในกระบือมีสาเหตุจาก Bacillus anthracis ซึ่งต่อมานักโรคพืชได้นำวิธีการ ทดสอบการทำให้เกิดโรคจากแบคทีเรียมาใช้ในการศึกษาโรคพืช และเรียกชื่อหลักการนี้ว่า Koch’s Postulation
          ค.ศ. 1878 Burrill เป็นคนแรกที่พบว่าอาการโรค fire blight ที่เกิดขึ้นกับ apple, pear และ stone fruit อื่นๆ มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ต่อมามีรายงานโรคพืช อีกหลายโรคที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช (Father of phytopathogenic bacteria) คือ Erwin F.Smith ที่เขียน ตำรา Bacteria in Relation to Plant Diseases Vol.1-3 และตำรา Introduction to Bacterial Diseases of Plants ซึ่งชื่อของ Erwin ได้รับเกียรติตั้งเป็นชื่อยีนัส Erwinia นั่นเอง โรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่สำคัญที่พบในยุคแรกๆ ได้แก่ crown gall, bacterial wilt ของแตงและกูลกะหล่ำ และ solanaceous crops การค้นพบโรคพืช ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียมีอีกจำนวนมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันยังมีรายงานการพบโรคพืชใหม่ๆที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย จุดที่นับว่ามีความสำคัญในการเปลี่ยน โฉมหน้าวิชาโรคพืชให้ก้าวสู่ยุคของ Molecular Plant Pathology เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1970 โดย Agrobacterium tumefaciens ซึ่งเป็นสาเหตุโรค crown gall ปล่อยสาร พันธุกรรมที่มีชื่อเรียกภายหลังว่า Ti-plsmid เข้าไปในเซลล์พืช และมีผลทำให้พืชเกิดโรค จากการค้นพบอันนี้ นับว่าเป็นการเปิดศักราชของวิชาโรคพืชให้เข้า สู่การศึกษาในระดับโมเลกุลโดยต่อมามีการปรับปรุงและนำเอา Ti-plsmid มาดัดแปลงโดยการใช้ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรม ทำให้ Ti-plsmid กลายเป็นพาหะ (cloning vehicle) ที่สำคัญในการนำเอายีนเข้าสู่ต้นพืชเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมตามต้องการ
          ค.ศ. 1972 Windersor และ Black พบแบคทีเรียที่อาศัยในท่ออาหาร (phloem-inhabiting bacterium) เป็นครั้งแรกที่เป็นสาเหตุโรค club leaf ของต้น clover นอกจากนี้ยังพบจุลินทรีย์ในท่อน้ำ (xylem-inhabiting bacterium) ของต้นองุ่นที่เกิดโรคที่เรียกว่า Pierce’s disease (Xylella fastidiosa), ต้น alfafa ที่มีลักษณะ แคระแกรน (dwarf), ต้นท้อเกิดโรค phony peach disease, อ้อยที่เกิดโรค ratoon stunting (Clavibacter xyli) และต้นส้มที่เกิดโรค greening (Phytoplasma)

หัวข้อ
ลักษณะของแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช (Characteristics of phytopathogenic bacteria) 
          1. เซลล์เป็นแบบเดี่ยว นิวเคลียสไม่มีเยื่อ nuclear membrane หุ้ม เรียกว่า nucleoid
          2. องค์ประกอบภายในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสร้างและสังเคราะห์โปรตีน ที่มีชื่อว่า ribosomes เป็นชนิดที่เรียกว่า 70 S (S = Svedberg unit เป็นค่าคงที่ของการตกตะกอน)
          3. ภายในเซลล์ไม่มี mitochondria สำหรับสร้างพลังงานให้กับเซลล์แต่มีโครงสร้างที่เรียกว่า mesosome ซึ่งเกิดการพับซ้อนของเยื่อหุ้ม cytoplasm ที่ทำ หน้าที่เก็บพลังงานแทน
          4. ทวีจำนวนโดยการแบ่งตัว binary fission

ลักษณะของแบคทีเรียโรคพืช 
          1. Rod-shaped ยกเว้น Streptomyces sp.
          2. Non-spore forming ยกเว้น Streptomyces, Bacillus, Clostridium, coryneform bacteria (Corybactrium, Arthrobacter, Claribacter, Curtobactrium, Rhodococcus)
          3. แกรมลบ ยกเว้น Streptomyces sp. และ coryneform bacteria
          4. Aerobes ยกเว้น Erwinia facultative
          5. ส่วนใหญ่เป็น soil borne และ facultative parasites
          6. มี 7 genera ที่สร้าง pigment
          7. ส่วนใหญ่มี slime layer/capsule
          8. มี flagella (ยกเว้น Streptomyces sp., E.stewartii, coryneform bacteria) ที่ยาวกว่าขนาดของเซลล์
          9. เป็น intercellular bacteria (ทวีจำนวนระหว่างเซลล์, ไม่ penetrated cell wall/protoplast พืช, เป็น parasite ใน extracellular) ยกเว้น Agrobacteria, Rhizobium
          10. ไม่เป็น acid-fast staining (กรดล้างสีไม่ออก) ยกเว้น Curtobacterium sp.


[ดูภาพทั้งหมดในหมวด
เซลล์แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช 
ประกอบด้วยส่วนต่างๆและโครงสร้างที่สำคัญต่อบทบาทในการทำให้เกิดโรคพืชดังนี้
          1. ส่วนชั้นผิว (Cell surface complex)
               1. Cell envelope: หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่หุ้มโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆที่อยู่ภายในเซลล์ทั้งหมด ได้แก่
                    1.1 Plasmic membrane หรือ cytoplasmic membrane หรือ inner membrane
                    1.2 Peptidoglycan : เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่เสมือน cell wall ของแบคทีเรีย
                    1.3 Outer membrane: เป็นโครงสร้างที่พบในเฉพาะแบคทีเรียแกรมลบเท่านั้น ประกอบด้วย lipopolysaccharide (LPS), lipoprotein, phospholipid และโปรตีนต่างๆซึ่งทำหน้าที่เป็นโปรตีนลำเลียง (transport protein) และ receptor
                2. Periplasmic space: เป็นช่องว่างระหว่างชั้น peptidoglycan และ outer membrane เป็นชั้นที่มีโปรตีนหลายชนิดที่เป็นเอนไซม์
               3. Capsule /slime layer ประกอบด้วย polysaccharides บางครั้งเรียกว่า extracellular polysaccharide (EPS) โครงสร้างนี้ช่วยป้องกันเซลล์และมี บทบาทในเรื่อง pathogenesis ดังนี้
                    3.1 ทำหน้าที่เป็น virulence factorโดยทำให้เชื้อนั้นมีความรุนแรงหรือเป็น virulence strain
                    3.2 EPS เมื่อถูกสร้างในปริมาณที่มากในขณะที่แบคทีเรียเจริญในท่อลำเลียง (vascular system) ทำให้เกิดอาการอุดตันเช่น Clavibacter michiganensis ทำให้เกิดโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ
                    3.3 EPS มีบทบาทในการเกิดแผลฉ่ำน้ำ (watersoak) ในพืช
               4. Surface appendages = flagella, fimbriae, protuberances : ยื่นออกมาจาก inner membrane ทำหน้าที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช เกือบทั้งหมด ยกเว้นยีนัส Clavibacter (Corynebacterium) มีการเคลื่อนที่โดยใช้โครงสร้างที่เรียกว่า หาง (flagella) ชนิดของ Flagella ที่พบในแบคทีเรียสาเหตุ โรคพืชมีดังนี้
                     4.1 แฟลเจลลาที่ออกมารอบตัว เรียกว่า peritrichous เช่นที่พบในยีนัส Erwinia และ Agrobacterium
                    4.2 แฟลเจลลาที่ออกมาจากขั้วด้านเดียว หรือสองด้านเรียกว่า polar flagella (monotrichus/liphotrichous) เช่นที่พบในยีนัส Pseudomonas หรือ Xanthomonas โดยจำนวนแฟลเจลลามีตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไปจนถึงหลายเส้น
                    Fimbriae (pilli) มีลักษณะสั้นกว่าแฟลเจลลา แต่ละเซลล์จะมีไพไลจำนวนมากน้อยแตกต่างกัน
                    Protuberance = LPS vesicles ถุงที่โป่ง ปลดปล่อยออกมาระหว่างพัฒนาการโรค จากการตอบสนองต่อพืช

          2. ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ (Peripheral ribosomal area)               Mesosome คือ ส่วนที่ยื่นออกมาจาก cellwall เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของแบคทีเรีย
               Ribosome ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนให้แก่เซลล์ ประกอบด้วย RNA 60 % และโปรตีน 40 % เป็นชนิด 70 S ประกอบด้วย 2 subunits คือ 50S และ 30S ไรโบโซม
               Granular inclusion ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ (granules) พบกระจัดกระจายอยู่ภายในเซลล์ ทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานหรือส่วนประกอบซึ่งจะเป็น โครงสร้างบางชนิดภายในเซลล์ Vacuole บรรจุของเหลวเช่น เอนไซม์ หรือแก๊ส เป็นโครงสร้างที่ช่วยให้เกิดการลอยหรือจมของเซลล์แบคทีเรียได้
               Plasmid เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่นอกโครโมโซม (extrachromosomal DNA) แบคทีเรียที่มีพลาสมิดส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ดำรงชีพใน สภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น และสามารถต้านทานสารปฏิชีวนะ มียีนควบคุมการสร้าง toxin กำหนด race ของแบคทีเรีย การต้านทานต่อสารเคมี และควบคุมการ สร้างสาร bacteriocin

          3. ส่วนของ Central nucleoid
               สิ่งมีชีวิตพวกโปรคาริโอตไม่มีนิวเคลียสที่แท้จริงเหมือนในพวกยูคาริโอต บริเวณนิวเคลียสจะประกอบด้วยสาร DNA เป็น double strand พันเป็น กระจุกเป็นวงกลม โดยไม่มี membrane ห่อหุ้ม (without nuclear membrane)

โรคราน้ำคาง


โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)


ชนิดพืชที่เกิดโรค


กวางตุ้งกะหล่ำดอกกะหล่ำปลีคะน้าบร๊อค โคลี่ผักกาดขาวปลีผักกาดเขียวผักกาดหัว
-
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasiticaลักษณะอาการของโรค
จะพบกลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทาบนใบต่อมาด้านหลังใบจะเกิดแผลสีเหลืองต่อมาเป็นสีน้ำตาล แผลค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง แผลจะมีจำนวนมาก ใบจะเหลืองและแห้งตาย ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อน แล้วลามระบาดไปยังใบที่สูงกว่า ในต้นอ่อนจะเริ่มมีแผลสีเหลืองที่ใบเลี้ยง และมักจะหลุดร่วงไป อาจจะทำให้ต้นเติบโตช้า โทรมอ่อนแอและตายได้ ในผักที่ใบห่อเป็นหัว ใบที่ห่อจะเกิดเป็นแผลจุดสีดำเป็นแอ่งลงไป อาจมีขนาดเล็กถึงใหญ่ ในกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่ เชื้ออาจเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้เกิดแผลสี น้ำตาลดำที่ผิวนอกสุด เป็นหย่อมๆ หรือทั่วทั้งดอก ถ้าเป็นโรครุนแรง ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝักอ่อน ก็มีแผลเช่นเดียวกับแผลที่เกิดบนใบ ฝักไม่สมบูรณ์การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราจะปลิวไปตามลมหรือติดไปกับสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ แล้วตกลงบนใบพืชเข้าทำลายพืชทางปากใบ อยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ (ส่วนขยายพันธุ์)ผนังหนา (oospora) ซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และติดไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค
ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 20-24 องศาเซลเซียส มีหมอกหรือน้ำค้างลงจัดการป้องกันกำจัด
1.ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 50 อง เซลเซียส 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิล หรือ เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ ก่อนปลูก
2.ไม่ปลูกผักซ้ำที่เดิมเคยมีการระบาดของโรค โดยปลูกพืชหมุน เวียนอย่างต่ำ 3-4 ปี
3.ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควรอย่าให้แน่นเกินไป
4.หลังจากเก็บเกี่ยวควรทำลายเศษซากพืชหรือพืชที่งอกเองให้หมด
5.เมื่อพบอาการบนใบควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ, ไซบ็อกซามิล+แมนโคเซบ, ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ, โพรพิเนบ+ไซม็อกซามิล เป็นต้น
หมายเหตุ โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ น้ำหนักลด เพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทำให้ผลผลิตตกต่ำ กะหล่ำปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกันรูปภาพประกอบ
ใบ / ดอก
โรคราน้ำค้างโรคราน้ำค้าง
โรคราน้ำค้างโรคราน้ำค้าง
โรคราน้ำค้าง
โรคราน้ำค้างโรคราน้ำค้าง

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา


โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium (Fusarium Wilt)


ชื่อสาเหตุโรค
เชื้อรา Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการ
ต้นกล้า- ล้มพับ
ใบ- เหลืองเหี่ยวลู่ลง หลุดร่วง
อาการที่อาจพบในส่วนอื่นๆของพืช
กิ่ง- กิ่งอ่อนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ราก- เปลือกร่อนหลุดเน่าสีน้ำตาล
- พบเส้นใยสีขาวหรือส้มอ่อนๆ
ผลพริก- ลีบเล็ก หดย่น หลุดร่วง
โคนต้น- เปลือกหลุดร่อนเน่าสีน้ำตาล
- พบเส้นใยสีขาวหรือส้มอ่อนๆ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
- ดินมีความเป็นกรด
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค 27-32 องศาเซลเซียส
การแพร่ระบาด
- แพร่โดยดิน น้ำ เครื่องมือ และสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ
- อยู่ข้ามฤดูในเศษซากพืชที่เป็นโรค และในดิน
การป้องกันกำจัดโรค
1. ทำลายส่วนที่เป็นโรค โดยการนำไปเผาทิ้ง
2. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก
3. ปลูกพืชหมุนเวียน
4. ใช้พันธุ์ต้านทาน
5. ปรับ pH ของดินให้เป็นด่าง
6. ไม่ปลูกพืชในแหล่งที่เคยเป็นโรคมาก่อน
7. แปลงปลูกยกร่องให้สูง มีทางระบายน้ำดี
8. ราดบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารเคมี เช่น เอทธาโซล พีซีเอ็นบี ควินโตซีน

โรคใบด่าง


โรคใบด่างของพริก
(Pepper mosaic)

  สาเหตุ:    ไวรัสใบด่างแตง (Cucumber mosaic virus, CMV)  
                   
  ลักษณะอาการ:     ใบพริกด่างหรือมีจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ  ใบเสียรูปบิดเบี้ยวลดขนาด
                                 ใบเรียวเล็กเป็นเส้นเพราะเนื้อใบ  และเส้นใบเจริญไม่สัมพันธ์กัน
                                 ใบร่วงบางครั้งฝักพริกเล็ก  หรือด่าง  ผิวขรุขระ ต้นแคระแกร็น
                
      
  การแพร่ระบาด:   เพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะนำโรคและถ่ายทอดได้ด้วยวิธีกล
                                 พืชอาศัยกว้าง  ไม้ดอก  เช่น  หงอนไก่   บานไม่รู้โรย และทานตะวัน
                                 พืชตระกูลแตง เช่น  แตงไทย   แตงกวา   บวบ   และมะระ
                                 พืชผัก   เช่น   ถั่วแขก   ถั่วพุ่ม   ถั่วลันเตา   งา   พริก  ยาสูบ และ  
                                 มะเขือเทศ   
                   

 การป้องกันกำจัด

  • เสริมความแข็งแรงให้พืช   คลิกที่นี่ 
  • เลือกกล้าพริกที่แข็งแรงปลูก
  • หมั่นตรวจแปลง  พบต้นแสดงอาการถอนออกฝังลึกนอกแปลง
  • กำจัดวัชพืชในแปลง  และบริเวณรอบแปลงไม่ให้เป็นที่หลบหรืออาศัยของ
    แมลงพาหะนำโรค
  • ใช้แผ่นพลาสติกสีเงินคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง  และติดตั้งกับดักกาวเหนียว
    กระจายทั่วแปลง
  • ควบคุมแมลงพาหะด้วยสารสกัดสมุนไพรรวม + สารจับใบ พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม
    ตอนเย็นทุก 5 - 7 วัน
  • หยุดการระบาดด้วยคาร์โบซัลแฟน อิมิดาคลอพริด  หรือ โฟซาโลน

 พริกและสถานที่พบโรค

          พริกหวาน พริกหนุ่ม พริกขี้หนู และพริกเดือยไก่
  • อ.เมือง  และอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  • อ.ป่าซาง  จ.ลำพูน

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา


The greasy spot melanose, Mycosphaerella citri, an important disease of pomelo and other citrus โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง โรคที่สำคัญในส้มโอ พืชตระกูลส้มอื่นๆ และคำแนะนำในการป้องกันกำจัด

September 2nd, 2010
greasy-spot-mela3.jpg
      The pomelo farm I visited early this year at Mae Klong area, Pak Tho Subdistrict, Ratchaburi about 1.30 hours drive from Bangkok. It was a poor pomelo growing area where farmers do very little spray of fungicides and insecticides. Citrus plants in the leader of the village farm were badly affected by various pests. So, other farms nearby would probably be worse than him. Therefore many diseases and pests can be found including Phytopthora, scab and greasy spot melanose.

        The greasy spot melanose 
caused by the fungi Mycosphaerella citri Whiteside, syn. Cercospora citri-grisea F.E. Fisher while melanose casued byDiaporthe citri. Greasy melanose affected on various stages of leaves especially the young shoot leaves. The symptoms have been seen in all trees, with some badly affected trees showing stunt and almost die. Those twigs may die within some months. Spores are produced during wet periods and dispersed to young susceptible leaves and fruit by rain splash.        Chemical control: Generally this fungal disease can control by simple contact fungicides mancozeb, coppers (is also bacterialicide) and some systemic fungicides such as strobilurins. Qualiy copper products are such as copper sulfate (Cuprofix WG, Novofix Mz WG), copper hydroxide (Kocide, Funguran) while copper oxychloride, several seemed to be the common one with high pH when mixed in water which may not compatible with most of insecticides (generally low pH). Have to read and follow strictly the labels. Timing of chemical sprays for optimum disease control is in relation to local climatic conditions, seasonal bloom and shoot growth patterns and the mode of action of each spray material. Generally one or two sprays are recommends at early rainy season. But a few repeat sprays can be done if necessary. Avoid to use of copper fungicides in hot weather which damage young fruits. Fungicides are effective for only short periods when applied to rapidly expanding fruit or leaves. The fungicide sprays can control greasy spot (Mycosphaerella citri), melanose (Diaporthe citri) and scab (Elsinoe fawcettii, syn. Sphaceloma fawcettii) at the same time.
greasy-spot-mela1.jpggreasy-spot-mela2.jpgmelanose1.jpg
         สวนส้มโอที่ผู้เขียนได้ไปเยือนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในขณะที่สภาพอากาศยังแห้งแล้งก็แย่แล้ว ถ้าฝนมาคงจะอาการหนักขึ้นถ้าไม่หาทางป้องกัน อยู่ในเขตปากท่อ ราชบุรี ประมาณว่าขับรถจากกรุงเทพฯไปถึงนั่นราว ชั่วโมงครึ่ง เป็นสภาพสวนที่ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแลที่ถูกวิธี เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อยมาก จึงมีทั้งโรค แมลง และไรขาว โรคที่มีปัญหามากแต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากกรมวิชาการเกษตรที่ไปช่วยแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ได้แก่โคนเน่า หรือโรคไฟทอฟโทร่า ส่วนโรคที่เป็นหนักทั้งสวนได้แก่โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง จนต้นใกล้ตาย ใครจะใช้ทฤษฎีใดๆ ก็ตามในการทำสวนแต่ถ้าไม่เข้าใจปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่ลึกซึ้งพอก็จะประสบปัญหาแบบนี้ แทนที่ปลูกพืชครั้งเดียวเก็บผลได้นานนับ ปีแต่ต้นไม้กลับทรุดโทรมจนรั้งเอาไว้ไม่อยู่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าเสียดาย
 
          
โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Mycosphaerella citri Whiteside, syn. Cercospora citri-grisea F.E. Fisher อาการในส้มโอมีจุดเหลือง มีจุดนูนๆ ด้านใต้ใบ เมื่อแผลแห้งจะสากมือ บางครั้งจะมีสะเก็ดแผลเป็นรูปดาว แตกต่างจากโรคเมลาโนส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Diaporthe citri อาการมักมีจุดดำและใบเรียบค่อนข้างลื่นมือ โรคใบปื้นเหลืองที่พบในสวนดังกล่าวเป็นแทบทุกต้น ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต กิ่งบิดโค้ง ใบบิดเบี้ยว ซึ่งสามารถทำให้กิ่งตายได้ในไม่กี่เดือน เชื้อราในช่วงที่มึความชื้นสูงสามารถสร้างสปอร์และแพร่กระจายไปกับน้ำฝนไปสู่ส่วนอื่นๆ และใบอ่อนซึ่งอ่อนแอ การตัดกิ่งที่ตายส่วนที่เป็นโรคออกไม่เพียงพอในการหลีกเลี่ยงปัญหาโรคนี้
           
การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี มีความจำเป็น โดยเฉพาะช่วงกำลังจะแตกใบยอดอ่อน มีติดผลอ่อน ในสภาพที่มีความชื้นสูง สารที่แนะนำเช่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส แมนโคเซ็บ สารประกอบทองแดงซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่นโรคขี้กรากได้ด้วย หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม เช่น สะโตรบิรูรินส์ และอีกหลายชนิด ควรอ่านฉลากยาและใช้ตามคำแนะนำ ปกติมักจะพ่น อย่างน้อย 1-2 ครั้งในช่วงต้นฝนหรือพ่นซ้ำตามความเหมาะสม การใช้สารประกอบทองแดงควรเลี่ยงในช่วงที่อาการร้อนจัดเพราะอาจมีผลต่อผลอ่อน อย่างไรก็ตามสารประกอบทองแดงมีความสำคัญมากและใช้กันมากในสวนส้มจนขาดไม่ได้ เช่นสารคอปเปอร์ซัลเฟต หรือบอร์โดมิกซ์เจอร์สำเร็จรูป (Cuprofix, Novofix Mz) สารคอปเปอร์ไฮดร็อกไซด์ (Kocide, Funguran) สารคอปเปอร์อ็อกซี่คลอไรด์ (Copper oxychloride) สารชนิดหลังราคาค่อนข้างถูก ปัญหาค่าความเป็นด่างจะสูงกว่าสารชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันต้องระวังการใช้การผสมที่อาจจะไม่เข้ากันกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดโดยเฉพาะสารฆ่าแมลงบางชนิด _______________________ขอขอบคุณคุณสุพัตรา อินทวิมลศรี กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ที่ให้คำแนะนำ

Root rot or gummosis and Foot rot caused by Phytophthora parasitica โรครากเน่า และโคนเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่าโรคที่ร้ายแรงในส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว

July 30th, 2010
citrus-phytoph1.jpgcitrus-phytoph3.jpg
         Root rot or gummosis and Foot rot caused by Phytophthora parasiticaDastur, a soil borne organism.  Symptoms include rotted roots, cracked bark, accompanied by gumming, water-soaked, reddish-brown to black bark at the soil line, discolored tissue in the lower trunk, yellowing, sparse foliage and death of the tree.
         
โรครากเน่า และโคนเน่า  สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora parasitica Dastur  โรคนี้มีความสำคัญมากในส้ม และไม้ผลอีกหลายชนิด เนื่องจาดเชื้อราชนืดนี้เจริญเติบโตในดินอาการของพืชมักเกิดที่โคนต้น และระบบบราก ทำให้รากเน่า โคนต้นเปลือกปริแตก มีอาการยางไหลในสภาพที่อากาศชื้น เมื่อใช้มีดปาดที่เปลือกบริเวณที่เป็นโรคจะเห็นเป็นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ต้นส้มแสดงอาการใบเหลืองซีด ลู่ลง กิ่งบางกิ่งเริ่มแห้งตาย บริเวณเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าและโคนเน่า สามารถติดไปกับน้ำฝน ทำให้เกิดแผลเน่าฉ่ำน้ำที่ใบ และผล ทำให้ผลร่วงเป็นจำนวนมาก   
citrus-phytoph2.jpg
The affected foot after smeared by metalaxyl in pinkish-purple color. แผลที่โคนต้น ควรขูดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทา
ด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่นเมตาแลกซิล หรือฉีดเข้าต้นบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารฟอสฟอรัสแอซิด
citrus-phytop2-450.jpg
โรครากเน่า และโคนเน่า (Root rot and Foot rot) ที่เกิดบนใบและผล ปกติอาการมักเกิดที่โคนต้น ระบบบราก ต้นส้มแสดงอาการใบเหลืองซีด ลู่ลงเชื้อราสามารถติดไปกับน้ำฝนกระจายไปสู่ใบ ผลและส่วนต่างๆ ของส้ม ทำให้เกิดแผลเน่าฉ่ำน้ำที่ใบ แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อลุมลามมากขึ้นแผลมีสีน้ำตาลถึงดำ แห้งตาย ทำให้ใบร่วงเป็นจำนวนมาก   

Mango Anthracnose caused by a fungus, Colletotrichum gloeosporioides โรคแอนแทรคโนส สาเหตุจากเชื้อรา เป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดในมะม่วง

July 25th, 2010
anthracnose1.jpganthracnose2.jpganthracnose3.jpganthracnose4.jpg
           Anthracnose
 caused by the fungus Colletotrichum gloeosporioides, is the most wide-spread disease in mangoes. The varieties vary in susceptibility such as Nam Dok Mai is one of the most susceptible varity. Colletotrichum gloeosporioides causes anthracnose on fruits, and drop of flowers on young branches. Anthracnose always appears on leaves as square brown to black spots. The control program shood be applies at 2 weeks intervals before flower buds open and repeat for 3-4 spray rounds. Contact fungicides are usually recommended such as mancozeb, captan and coppers. The alternating or mixing with sytemic fungicides, Prochloraz, azoxystrobin, benomyl, carbendazim or others when disease pressure is high. The late fruiting season is also necessary to spray in some susceptible mango varieties such as heavy variety of the northern Thailand, Khieo morakot.
          
โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. เป็นโรคที่มีความสำคัญมากกับมะม่วงทุกพันธุ์ แต่มะม่วงพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความต้านทานต่อโรคแตกต่างกัน พันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ หากไม่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราอาการจะรุนแรงมาก บางครั้งจะไม่ได้ผลผลิตเลย อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ำและเปลี่ยนเป็นสีดำต่อไป บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวลงเล็กน้อยจนดึงให้ใบบิดเบี้ยว ใบแก่ขนาดของจุดจะมีขนาดคงที่ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดำ ในสภาพอากาศที่ มีความชื้นสูง จะมีสปอร์สีชมพูเกิดขึ้นตามแผลที่เป็นโรคการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส ควรทำในระยะที่มะม่วงกำลังจะแตกใบอ่อนและเมื่อมะม่วงจะแทงช่อดอก เกษตรกรควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส เช่นสารแมนโคเซ็บ แคปแทน สารพวกคอปเปอร์ อาจจะผสม หรือสลับกับสารประเภทดูดซึม เช่น Prochloraz, azoxystrobin, benomyl, carbendazim หรือสารดูดซึมอื่นๆ พ่นทุก10-14 วันประมาณ 2-3 ครั้ง มะม่วงที่ต้องการเก็บรักษา สารพวกคอปเปอร์ซึ่งไม่มีค่า MRLในยุโรปกำหนดไว้ จึงน่าจะเป็นทางเลือกใช้ได้ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะพันธุ์เขียวมรกต ควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราในช่วงปลายฤดูปลูกด้วย_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3
 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

Late Blight in Potato caused by Phytophthora infestans โรคใบแห้ง หรือ โรคใบไหม้ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไฟท้อปโทร่า ที่มีความสำคัญที่สุดในมันฝรั่ง

July 24th, 2010
lateb1.jpglateb2.jpglateb3.jpgspraying.jpgmancozeb2.jpg
        Late blight is a fungal disease caused by Phytophthora infestans (Mont.) de Bary.  It attacks both tubers and foliage during any stage of crop development. The first symptoms of late blight in the field are small, light to dark green, circular to irregular-shaped 
water-soaked spots. These lesions usually appear first on the lower leaves. Effective control of these leaf diseases requires implementating an integrated disease management approach. Protectant fungicides especiallymancozeb should be used before development of disease in a field. If late blight is present in a field, a combination of protectant and systemic eradicant systemic fungicides should be used.
        
โรคใบแห้ง หรือ โรคใบไหม้ (Late Blight) เป็นโรคที่เกิดจากเฃื้อรา Phytophthora infestans (Mont.) de Bary มีความสำคัญที่สุดของมันฝรั่ง  อาการของโรคเกิด แผลที่ใบ ลำต้น และหัวมันฝรั่งที่อยู่ในดิน แผลเริ่มที่ใบเป็นจุดสีเขียวหม่นขอบเทาซึ่งลุกลามขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบบิดเบี้ยว ในช่วงที่อากาศเย็นชื้นจะเห็นสปอร์สีขาวตามขอบแผลที่ใต้ใบ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งอย่างรวดเร็ว หัวมันฝรั่งที่ติดเชื้อในดินจะเน่าเละ หรือมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัดความใช้หลายๆ วิธีร่วมกันที่เรียกว่าการป้องกันกำจัดแลลวิธีผสมผสาน การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัสเช่นแมนโคเซ็บเป็นที่นิยมอย่างกว้างเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค อย่างไรก็ตามเมื่อสภาวะของสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาด การผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึมควรได้รับการพิจารณา หรือใช้สลับกัน การใช้สารดูดซึมเท่าที่จำเป็นมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราสร้างความต้านทานต่อสารดูดซึมที่ใช้ ส่วนสารแมนโคเซ็บยังไม่พบว่าเชื้อราสร้างความต้านต่อสารนี้
_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

The use of mancozeb for the control of fungal diseases การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ

July 21st, 2010
mancozeb1.jpgmancozeb2.jpg
The use of mancozeb
       Mancozeb 
is non-systemic fungicide, Organic–Dithiocarbamate group. Foliar protection of many fruits, vegetables, nuts and field crops against a wide spectrum of fungal diseases including potato blight, leaf spots, scab on apples and pears, anthracnose and rust. For seed treatment of rice, cotton, potatoes, corn, safflower, sorghum, peanuts, tomatoes, flax, and cereal grains.Mancozeb does not induce in fungi and is therefore an essential componentof alternating spray program or of mixed formulations with systemic and other fungicides.Polyvalence: use on more than 70 crops for the control of 400 fungal diseases of which mildews, excoriosis, black-rot, red fire, alternaria, etc. Multi-site action: making it an ideal partner for recent mono-site molecules (mixture). Nutrient: correction of crop deficiencies in  manganese and zinc.The worldwide use mancozeb, without danger to the environment. Because mancozeb break down rapidly in the environment. It is not harmful to beneficial insects and natural pollinators. Hence it is a useful product in integrated pest management programs. Mancozeb is a contact fungicide which remains on the treated surface of the plant.   
การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ (
Mancozeb)       
        แมนโคเซ็บ คือสารป้องกันกำจัดเชื้อราแบบสัมผัสที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางมานานแล้ว ชื่อ
การค้าที่รู้จักกัน เช่น เพนโคเซบ (Penncozeb), วันโดเซ็บ (Vondozeb), ยูเทน (Uthane), ไดเทนเอ็ม 45 (Dithane M-45), นิวเทนเอ็ม 80 (Newthane M 80), แมนเซท (Manzate) ฯลฯ ปัจจุบันสารแมนโคเซ็บจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน มีการขึ้นทะเบียนและใช้กันมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรป (EU) อเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา เอเชีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ประโยชน์ สามารถใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้มากกว่า 100 ชนิด ในกว่า 100 พืช สิ่งที่น่ารู้สำหรับสารแมนโคเซ็บกล่าวคือ
       - สารนี้ไม่ใช่สารที่คงทนเมื่อมีการขนส่งและการเก็บรักษาโดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนและชื้น สารออกฤทธิ์จะเสื่อมสลายไปทีละน้อยตามระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยเฉพาะเมื่อเปิดภุงหรือภาชนะบรรจุ เพราะสารมักดูดความชื้นและความชื้นนี่เองที่มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการสลายตัว บริษัทผู้ผลิตจึงมักมีการรับรองคุณภาพในการเก็บรักษาไว้ไม่นานเกิน  2 ปี ความชื้นในสารที่ไม่ควรมีสูงกว่า 2% เนื่องจากความชื้นจะเร่งปฎิกิริยาให้เกิดการสลายตัวให้เร็วขึ้น สารที่ไม่ได้มาตรฐานมักจะมีความชื้นสะสมไว้สูงกว่าที่มีมาตรฐานกำหนด เช่นสูงถึง 2.5-4 %  การเลือกซื้อจึงควรซื้อสารที่บรรจุใหม่ๆ บริษัทผู้ผลิตที่มีมาตรฐานมักจะไม่ผลิตเพื่อรักษาไว้รอการจำหน่ายนานหลายเดือนหรือเป็นปี แต่จะผลิตใหม่เมื่มีคำสั่งซื้อเข้ามา และการผลิตก็จะให้มีเปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์ไว้สูงกว่าที่กำหนดไว้เล็กน้อย เช่นแมนโคเซ็บ 80%WP มักจะผลิตไว้ที่ 82-32%WP เพื่อที่เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์หลังจากเก็บรักษาไว้ระยะหนึ่งจะได้ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อให้ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชได้ผลดี
        - 
การละลายน้ำที่ดี ควรมีสารที่ช่วยให้เนื้อสารแขวนลอยในน้ำอยู่ได้นาน (High susspensibilty) ไม่ตกตะกอนนอนก้นเร็วเกินไปซึ่งสังเกตได้หลังจากพ่นสารเสร็จแล้วมักจะมีการตะกอนอยู่ก้นถังมากสำหรับสารที่มีมาตรฐานต่ำ  
        - ขนาด
ของเนื้อสาร (Particle sizes) เมื่อละลายน้ำแล้วควรจะมีขนาดเล็ก 2-6 ไมครอน ซึ่งจะลดปัญหาการอุดตันหัวฉีดขณะพ่นสาร สารแมนโคเซ็บที่มีคุณภาพต่ำมักมีขนาดของเนื้อสารใหญ่กว่านี้จำนวนมาก
        - แมน
โคเซ็บเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทสัมผัส (Contact fungicides) นับตั้งแต่มีการใช้มานานกว่า 30 ปี ยังไม่เคยมีรายเชื้อราสร้างความต้านทานต่อสารนี้ จึงมีช่วยลด หรือชะลอปัญหาการดื้อยาของเชื้อราต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมเมื่อมีการใช้ผสมกับสารดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีส่วนช่วยเสริมฤทธิ์กัน ช่วยทำให้ป้องกันกำจัดเชื้อราได้กว้างขวางมากขึ้น หรืออาจจะใช้สลับกันกับสารออกฤทธิ์ชนิดดูดซึมก็ได้ ปกติสารดูดซึมมักจะใช้เมื่อสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคพืช เช่นฝนตก ความชื้นสูง และสารดูดซึมมักแนะนำให้ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่นใช้ไม่เกิน 3-4 ครั้งต่อฤดูปลูกพืชเพื่อลดปัญหาการดื้อยา ส่วนสารแมนโคเซ็บสามารถใช้ได้ตลอดแต่ไม่เกิน 16 ครั้งต่อฤดูปลูกโดยเฉพาะในกล้วยที่ปลูกเป็นอุตสาหกรรม
       - 
สารแมนโคเซ็บเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่กว้างขวาง (Broad spectrum) มีการใช้ในพืชต่างๆ อย่างกว้างขวาง ได้แก่ ไม้ผล โดยเฉพาะมะม่วง ส้ม ทุเรียน ในมันฝรั่ง มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ พืชตระกูลกะหล่ำ คะน้า ผักกาด บวบ ฟัก แฟง แตงกวา หอม กระเทียม เป็นต้น
       - 
อัตราการใช้ ปกติใช้อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุก 7-14 แต่ถ้าพบว่าเริ่มมีสัญญาณการระบาดของโรคพืช ควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้ผสมกับสารดูดซึม บางครั้งก็นิยมใช้สลับกันก็ได้
       - 
สารแมนโคเซ็บสามารถใช้ผสมร่วมกับสารฆ่าแมลง สารฆ่าไรศัตรูพืช หรือปุ๋ยทางใบได้แทบทุกชนิด (Compatible with other pesticides) แต่ไม่ควรผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง
       - ข้อควรระวัง 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดมีอันตรายต่อผู้ใช้ได้ หากไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดขณะปฎิบัติงาน เช่นเดียวกันกับสารแมนโคเซ็บ
_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3
 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะอาการของโรค (symptom)

ลักษณะอาการของโรค คือ การแสดงออกของปฏิกริยาทางสรีรวิทยาของพืชที่สนองตอบต่อกิจกรรมอันเป็นพิษภัย ซึ่งเกิดจากการกระทำของตัวการที่ก่อให้เกิดโรคเมื่อพืชเป็นโรคย่อมมีลักษณะ อาการเกิดขึ้นด้วยเสมอ สำหรับโรคพืชโรคหนึ่ง ลักษณะอาการของโรคจะแสดงออกมาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เรียกว่า syndrome ซึ่งการจดจำ syndrome จะช่วยได้เป็นอย่างมากในการวินิจฉัยโรคพืชในภาคสนาม

สัญลักษณ์ของโรค (sign)

สัญลักษณ์ของโรค คือ ชิ้นส่วนของเชื้อโรค (pathogen) ซึ่งอาจจะเป็นโครงสร้างทางร่างกายหรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ (vegetative or reproductive structure) ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ข้างบนหรือใกล้ ๆ กับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคโดยรวมถึงของเหลวต่าง ๆ ที่ไหลออกมาจากส่วนของพืชที่เป็นโรคด้วย

ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงรูปร่างของเชื้อสาเหตุที่ก่อให้ เกิดโรค โดยเฉพาะโครงสร้างหน่วยสืบพันธุ์(fructification) ของเชื้อราที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เนื่องจากโรคบางโรคอาจไม่พบลักษณะอาการที่ผิดปกติเลยแต่พบสัญลักษณ์ของโรค เช่น เมื่อต้นไม้เกิดการผุสลายของแก่นไม้ (decay of heartwood) เมื่อมองจากภายนอกจะไม่พบลักษณะอาการผิดปกติของต้นไม้ แต่จะพบดอกเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายเกือกม้าหรือคล้ายหิ้ง ที่เหนียวและแข็งเกาะอยู่ที่นอกลำต้น ซึ่งนี่ก็คือเชื้อราสาเหตุของโรคนั่นเอง และดอกเห็ดที่พบก็คือสัญลักษณ์ของโรค

สัญลักษณ์ของโรคที่มักพบเสมอ ได้แก่

hypha หรือเส้นใย คือ โครงสร้างของราที่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายเส้นด้าย และแตกแขนงซึ่งถ้าเส้นใยมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มจะเรียกว่า mycelium

rhizomorph คือ กลุ่มของเส้นใยของราหลาย ๆ เส้นมารวมกันทางด้านข้าง ทำให้เกิดเป็นเส้นขนาดใหญ่ขึ้นสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า มีรูปร่างคล้ายกับรากของต้นไม้ และมีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะสำคัญของราใน class Basidiomycetes

spore คือ หน่วยที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ของรา มีขนาดเล็กมาก มีรูปร่างและสีแตกต่างกันไปไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าถ้าอยู่เดี่ยว ๆ แต่ถ้าอยู่เป็นกลุ่มจะสังเกตเห็นเป็นผงฝุ่นที่มีสีต่างๆ เกิดอยู่บนรอยแผล

fruiting body หรือ fructification คือ โครงสร้างอย่างหนึ่งของรา ซึ่งภายในมี spore บรรจุอยู่

higher plant parasite เช่น กาฝากที่เจริญอยู่บนกิ่งของต้นไม้ และฝอยทองที่เจริญคลุมหรือพันอยู่กับกิ่ง ก้าน ใบ ซึ่งทั้งสองชนิดนั้นจะขึ้นเบียดเบียนต้นพืช

exudate หรือ exudation คือ ของเหลวที่ไหลออกมาจากเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ของเหลวที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโรคพืช ได้แก่ bacterial exudate , slime flux, gummosis และ resinosis ส่วนของเหลวที่เป็นน้ำ หรือเป็น cell sap ที่ออกมาทางปลายใบของพืชเมื่อเกิด guttation หรือเมื่อตัดปลายยอด กิ่ง ก้าน นั้นไม่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโรค แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการ สรีรวิทยาที่เป็นปกติของพืช

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการของโรค สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง

- morphological symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากภายนอกของต้นพืชอาจจะเกิดที่ ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืชหรือเกิดกับทั้งต้น และอาจจะใช้วิธีดมกลิ่น ชิมรส หรือสัมผัสเพื่อช่วยตรวจหาอาการของโรคด้วย

- histological symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคจึงจะทราบ การศึกษาลักษณะอาการผิดปกติในระดับเนื้อเยื่อ เรียกว่า pathological anatomy ซึ่งจะไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดในวิชานี้

morphological symptom

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

- necrotic symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมสลายของ protoplast ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือพืชทั้งต้นตายในระยะต่อมา ถ้าลักษณะอาการของโรคแสดงออกให้เห็นก่อนที่ protoplast จะตายเรียกว่า plesionecrotic (nearly dead) symptom ถ้าลักษณะอาการของโรคแสดงให้เห็นหลังจาก protoplast ตายแล้ว เรียกว่า holonecrotic (entirely dead) symptom

อาการที่จัดเป็น plesionecrosis มีดังนี้

1. yellowing ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืช ซึ่งตามปกติมีสีเขียว เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง เนื่องมาจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll breakdown) 

ภาพที่ 5 ลักษณะอาการของใบปาล์มที่เป็น yellowing
ที่มา : http://www.ics.uci.edu/~eppstein/pix/palm/Yellowing.html

2. wilting ลักษณะอาการเหี่ยวของต้นพืชหรือบางส่วนของต้นพืชอันเนื่องมาจากการสูญเสีย ความเต่งของเซลล์ที่ใบหรือที่ลำต้น อาการเหี่ยวของพืชที่เกิดเนื่องจากการขาดน้ำในดินจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ถ้าพืชนั้นได้รับน้ำก่อนที่จะถึงจุดเหี่ยวถาวร (permanent wilting point) แต่อาการเหี่ยวของพืชอันเนื่องมาจากเชื้อโรคเข้าทำลายต่อระบบลำเลียงน้ำ จะไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้อีก

ภาพที่ 6 ลักษณะอาการของต้นไม้ที่เกิด wilting
ที่มา : http://www.agnr.umd.edu/users/hgic/diagn/needle_s/needles_whole1.html

3. hydrolysis ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืชบริเวณที่เป็นโรคเกิดเป็นรอยช้ำหรือฉ่ำน้ำ เนื่องจากช่องว่างระหว่างเซลล์ของเนื้อเยื่อเต็มไปด้วยของเหลวที่ไหลออกมา จากภายในเซลล์ที่ cell membrane ถูกทำลายไป อาการ hydrosis มักเกิดขึ้นก่อนการเกิด holonecrotic symptom พบในโรค rot , spot และ blight

อาการที่จัดเป็น holonecrosis

อาการนี้จะเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชก็ได้ เป็นลักษณะอาการที่เป็นที่คุ้นเคยเพราะเห็นเด่นชัด เนื้อเยื่อที่เป็นโรคมักจะเปลี่ยนสีไปเป็นสีน้ำตาล holonecrotic symptom แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยขึ้นกับลักษณะอาการของโรคว่าเกิดกับอวัยวะส่วนใด

กลุ่มที่ 1 เกิดกับอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บอาหาร (storage organ) เช่น ผล เมล็ด bulb, corm, tuber และราก
มีลักษณะอาการดังนี้

1. rot ลักษณะอาการเริ่มแรกคือ เกิด hydrosis ขึ้นที่ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เก็บอาหาร ต่อมาเนื้อเยื่อส่วนนั้นจะอ่อนนุ่มลง และมีลักษณะแฉะๆ เพราะมีของเหลวที่เรียกว่า leak ไหลออกมา ผลสุดท้ายเนื้อเยื่อก็จะตายไป 

ภาพที่ 7 ลักษณะอาการของโรค root rot
ที่มา : http://www.plantpath.wisc.edu/wivegdis/images/vdu%20pea%20root%20rot.jpg

2. mummification เป็นลักษณะอาการเน่าที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อที่อ่อนนิ่มโดยเฉพาะที่ผล แต่ก่อนการเน่าจะไม่มี hydrosis เกิดขึ้น เนื้อเยื่อในบรเวณนั้นจะเกิดการสูญเสียของน้ำออกไปจากเซลล์ของผลอย่างรวด เร็ว ทำให้ผลแห้งเหี่ยวย่น และเหนียวแข็ง

กลุ่มที่ 2 เกิดกับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นสีเขียว (green plant tissue) มีลักษณะ อาการดังต่อไปนี้
1. damping – off หรือโรคเน่าคอดิน ลักษณะอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็วและโค่นล้มลงของต้นกล้า อันเนื่องมาจากการตายของเซลล์บริเวณลำต้นซึ่งอยู่ใกล้กับผิวดินเชื้อโรคอาจ เข้าทำลายเมล็ดหรือส่วนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำให้ต้นกล้าไม่งอกขึ้นเหนือดิน ลักษณะอาการนี้มีชื่อเรียกว่า pre - emergence damping – off 

ภาพที่ 8 โรคเน่าคอดิน (damping-off)
ที่มา : http://www.tropicanursery.com/adenium/problems.htm

2. spot ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อบนใบพืชและบนผลของพืชเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา โดยมีขนาดหรือมีขอบเขตจำกัดรูปร่างของแผลค่อนข้างกลมหรือเป็นเหลี่ยมและบาง ครั้งพบว่าตรงขอบของรอยแผลมีสีม่วงหรือสีเข้มอื่น ๆ เกิดล้อมรอบ

ภาพที่ 9 โรคใบจุด (leaf spot)
ที่มา : http://www.caf.wvu.edu/kearneysville/disease_descriptions/omfabrea.html

3. shot - hole คือลักษณะอาการที่เหมือน spot พบบนใบพืช แต่เนื้อเยื่อส่วนที่ตายจะแตกหลุดร่วงออกจากรอยแผลในระยะต่อมา ทำให้เห็นเป็นรูกลวงอยู่บนผิวใบ

4. fleck (speck) คือลักษณะอาการของโรคที่เหมือนกับ spot แต่แผลมีขนาดเล็กมาก

5. blotch คือลักษณะอาการของโรค spot ที่บนรอยแผลมีเส้นใยสีดำของราปรากฏอยู่

6. streak คือลักษณะอาการตายของเซลล์แบบเป็นรอยขีด ที่มีความยาวจำกัด เกิดบนลำต้นหรือบนเส้น vein ของใบพบในพืชตระกูลหญ้า

7. stripe คือลักษณะอาการตายของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเส้น vein ของใบพบในพืชตระกูลหญ้า ซึ่งอาการแบบ streak และ stripe อาจจะเกิดขึ้นร่วมกันและมีแบบแผนที่ไม่แน่นอน เรียกว่า net necrosis

8. blight คือลักษณะอาการตายอย่างรวดเร็วของใบทั้งใบ หรือเพียงบางส่วนของใบรวมทั้งเส้นใบ (vein) ด้วย โดยบริเวณเซลล์ที่ตายนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและลุกลามออกไปไม่มีขอบเขต จำกัด อาการใบจุด (leaf spot) ที่จุดแต่ละจุดเกิดใกล้ ๆ กัน แล้วรอยแผลขยายออกมาชนกัน กลายเป็นรอยแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้น ไม่เรียกว่า เป็นอาการ blight เนื่องจากอาการ blight ต้องเกิดจากเชื้อโรคเข้าทำลายใบที่จุดเดียวแล้วเนื้อเยื่อค่อย ๆ ตายขยายเป็นวงกว้างออกไป

9. scorch คือลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกับ blight แต่การตายของเนื้อเยื่อไม่มีแบบแผนที่แน่นอน เกิดระหว่างเส้นใบและตามขอบใบ

10. firing คือลักษณะอาการที่ใบเกิดการเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วและตายลงทั้งใบ ซึ่งความจริงแล้วเชื้อโรคไม่ได้เข้าทำลายที่ใบ แต่อาการที่ปรากฏบนใบมีผลมาจากการเน่าของรากและโรคเหี่ยว (wilting) ที่เกิดจากเชื้อโรค

11. scald คือลักษณะอาการที่เซลล์ผิวและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เซลล์ผิวของผล หรือบางครั้งของใบเปลี่ยนเป็นสีขาวซีด

12. blast คือลักษณะอา การตายอย่างรวดเร็วของตาหรือช่อดอกที่ยังอ่อนอยู่

13. shelling คือลักษณะอาก ารที่ผลซึ่งยังอ่อนอยู่หลุดร่วงไปจากขั้วเนื่องจากมีการตายของเซลล์เกิดขึ้น อย่างกว้างขวางในบริเวณขั้วของผล

14. anthracnose คือลักษณะอาก ารที่เนื้อเยื่อของใบ ผล หรือกิ่ง เกิดเป็นจุดช้ำสีน้ำตาล จุดแผลนี้จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นรอยรูปวงรีหรือวงกลมสีดำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มักจะเกิดจากราใน class Deuteromycetes (imperfect fungi) พวกที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีชื่อว่า conidium ภายในโครงสร้างที่ชื่อ acervulus ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดสีดำขนาดเล็กมากบนรอยแผล ถ้าอากาศชื้นที่บนตุ่มสีดำจะมีเมือกสีส้มอ่อนหรือสีครีมเยิ้มออกมาคล้ายหยด น้ำเมือกสีส้มอ่อนหรือสีครีม คือกลุ่มสปอร์ของราที่ดันพ้น acervulus ขึ้นมา

ภาพที่ 10 โรคแอนแทรกโนส (anthracnose)
ที่มา : http://www.oldhouseweb.com/gardening/garden/ 01701176. shtml

15. rust คือลักษณะอาการของโรคที่เกิดได้ทั้งใบ กิ่ง ลำต้น และผล โดยด้านล่างของใบจะเกิดเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลปนแดงคล้ายสีสนิมเหล็ก นูนขึ้นมากจากผิว กระจายอยู่ทั่วไป รอยนูนนี้เกิดขึ้นจากเซลล์ผิวของพืชถูกดันขึ้นมาจนแตกโดยราที่เจริญอยู่ข้าง ใต้ เผยให้เห็นสปอร์สีน้ำตาลแดง เนื้อเยื่อของใบทางด้านบนที่อยู่ตรงกับรอยนูนจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง ตายเป็นสีน้ำตาลในที่สุด สาเหตุของโรคเกิดจากราที่อยู่ใน Order Uredinales C lass B asidiomyc etes

ภาพที่ 11 โรคราสนิม บนใบถั่วเหลือง (soybean rust)
ที่มา : http://www.planthealth.info/rust/rust.htm

16. powdery mildew คือลักษณะอาการของโรคซึ่งเกิดกับใบที่เจริญเต็มที่แลวจะเห็นผลสีขาวหรือสี เทาของราเกิดขึ้นที่ผิวใบทางด้านบนหรือด้านล่างเป็นหย่อม ๆ ต่อมาเนื้อเยื่อบริเวณที่มีราเจริญปกคลุมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วแห้งตายเป็นสีน้ำตาล ถ้าโรคเกิดกับใบอ่อนจะเห็นสีขาวปกคลุมทั้งใบ ในไม่ช้าใบจะมีลักษณะหงิกงอ และตาย ถ้าโรคเกิดกับกิ่งอ่อน ๆ ตาและดอก เส้นใยสีขาวที่แผ่ขยายปกคลุมจะทำให้ยอด กิ่งอ่อนและตาไม่เจริญ ดอกที่ถูกทำลายจะมีสีซีด แคระแกรน และแห้งไปในที่สุด




ภาพที่ 12 โรคราแป้งขาวบนใบฟักทอง (powdery mildew)
ที่มา : http://hflp.sdstate.edu/Pestalrt/alert908.htm 

กลุ่มที่ 3 เกิดกับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นเนื้อไม้ (woody tissue) มีลักษณะอาการดังนี้

1. die-back (stag-head) คือลักษณะอาการตายของพืชที่เริ่มจากปลายยอด ปลายกิ่ง หรือปลายก้าน แล้วลุกลามลงมายังส่วนล่างของพืช มักจะเกิดขึ้นระหว่างที่ต้นไม้อยู่ในระยะพักตัว (dormancy) หรือภายหลังจากระยะพักตัวใหม่ ๆ


ภาพที่ 13 โรค die-back
ที่มา : http://fusion.ag.ohio-state.edu/news/story.asp?storyid=675

2. canker คือลักษณะอาการที่เปลือกและเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ใต้เปลือก ในส่วนของลำต้น กิ่ง หรือราก เกิดการตาย โดยการตายของเนื้อเยื่อจะถูกจำกัดด้วย callus ซึ่งสร้างขึ้นมาจากเนื้อเยื่อส่วนที่ยังดีรอบ ๆ รอยแผลนั้น 

ภาพที่ 14 โรค canker ที่เกิดจากเชื้อ Nectria sp.
ที่มา : http://fhpr8.srs.fs.fed.us/idotis/diseases/nectria.html

3. bleeding คือลักษณะอาการที่มีของเหลวไหลออกมาจากเนื้อไม้ส่วนที่เป็นโรค โดยที่ของเหลวนี้จะต้องไม่ใช่ยางไม้ (gum หรือ resin) ในต้นไม้เนื้อแข็ง (hardwood tree) ถ้าของเหลวที่ไหลออกมาเป็น gum และมีปริมาณมากผิดปกติ จะเรียกว่า gummosis ในต้นไม้พวก conifer ถ้าของเหลวเป็น resin ที่ไหลออกมามากมาย จะเรียกว่าเกิด resinosis

2. atrophic หรือ hypoplastic symptom คือลักษณะอาการที่พืชหรืออวัยวะของพืชไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ไม้ ทำให้พืชมีขนาดเล็กลง และอาจทำให้สีของส่วนต่าง ๆ จางลงด้วย ลักษณะอาการของโรคที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่

1. dwarfing คือลักษณะอาการที่พืชมีขนาดของส่วนต่าง ๆ เล็กกว่าปกติหรือพืชเกิดการแคระแกรน

2. rosetting คือลักษณะอาการที่ส่วนปล้องของพืชไม่ยืดยาวออกไป ทำให้ใบที่เกิดขึ้นตามข้ออยู่รวมกันเป็นกระจุกเหมือนกับกลีบกุหลาบ

ภาพที่ 15 โรค resetting
ที่มา : http://oregonstate.edu/dept/nursery-weeds/feature_
articles/post_herbicides/postemergence_herbicides.html

3. albication คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืชเป็นสีขาวทั้งหมดเนื่องจากการไม่สร้างสีเลยของเซลล์

4. chlorosis คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของต้นพืชซึ่งตามปกติแล้วเป็นเขียวกลับเกิดเป็น สีเหลือง ทั้งนี้เพราะ chlorophyll เจริญไม่เต็มที่

5. mosaic คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของใบพืชเกิดเป็นรอยสีเขียวสลับสีเหลือง หรือสีเขียวสลับสีขาว

6. suppression คือลักษณะอาการที่พืชไม่สามารถสร้างอวัยวะของพืชในที่ที่ควรจะเกิดได้

7. etiolation คือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับต้นพืชที่ถูกเก็บไว้ในที่มืด เป็นอาการร่วมของ dwarfing , chlorosis และการผอมลีบของทุก ๆ ส่วนของพืช

3. hypertrophic หรือ hyperplastic symptom คือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเจริญที่มากกว่าปกติของพืช ทั้งในด้านขนาดและสี หรือเป็นอาการที่อวัยวะของพืชถูกสร้างขึ้นมาเร็วกว่าปกติ อาการประเภทนี้แบ่งออกเป็น4 กลุ่ม คือ

3. 1 gigantism คืออาการที่เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือต้นพืชทั้งต้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติแบ่งย่อยเป็น gigantism ในส่วนของใบและผล มีลักษณะอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. curl คือลักษณะอาการที่ส่วนยอดของพืชโค้งงอลง หรือการม้วนของใบพืช เนื่องจากมีการเจริญอย่างมากผิดปกติเกิดขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้าน เดียวของอวัยวะส่วนนั้น

2. savoying คือลักษณะอาการที่ใบขมวดย่น หรือเป็นลูกคลื่นเนื่องจาก อัตราการเจริญที่ไม่เท่ากันของส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกัน โดยส่วนที่เป็นเนื้อใบมีการเจริญมากเกินไปในขณะที่เส้นใบและขอบใบมีการเจริญ ที่น้อยกว่าปกติดังนั้นอาการนี้จึงเป็นทั้ง hyperplastic และ hypoplastic symptom ในเวลาเดียวกัน

3. scab คือลักษณะอาการที่เซลล์ผิวและเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้เซลล์ผิวของใบ ผล ลำต้น หรือหัว มีขนาดใหญ่มากผิดปกติทำให้บริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะนูนขึ้นมาเป็นสะเก็ดขรุ ขระเห็นได้ชัดเจน เกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมของ suberin ที่ผนังเซลล์ 

ภาพที่ 16 Apple scab
ที่มา : http://www.apsnet.org/education/LessonsPlantPath/AppleScab/Top.htm

4. intumescence คือ ลักษณะอาการบวมพองเฉพาะที่ของเซลล์ผิว (epidermis) และเซลล์ที่อยู่ใต้เซลล์ผิว (subepidermis)เนื่องจากมีการสะสมของน้ำภายในเซลล์มากผิดปกติ

gigantism ของลำต้นและราก

1. sarcody คือลักษณะอาการบวมพองของลำต้นเหนือรอยควั่น เนื่องจากมีการสะสมของอาหารที่ปรุงแล้วในบริเวณนั้นอย่างมากมายผิดปกติ

2. tumefaction คือลักษณะอาการบวมพองที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ อาการแบบนี้พบเป็นประจำที่ราก คือเป็นปุ่มปม (gall , knot , clubbed root)

3. fasciculation คือลักษณะอาการที่รากฝอย หรือยอดอ่อนของต้นแตกออกเป็นกระจุกรอบ ๆ จุดเดียวกันถ้าเกิดที่รากเรียกว่า hairy root ถ้าเกิดที่ยอดของต้น เรียกว่า witches' broom

4. fasciation คือลักษณะอาการที่ส่วนของพืชซึ่งปกติมีรูปร่างทรงกระบอก เช่น ลำต้น เปลี่ยนเป็นมีรูปร่างแบนและแผ่กว้างออกเหมือนกับมีการเชื่อมติดกันของลำต้น หลาย ๆ ต้น

5. proliferation คือลักษณะอาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้เจริญยืดยาวออกไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ถึงระยะที่ควรจะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว

6. callus คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่เป็นแผลของพืชมีการเจริญมากกว่าปกติ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาปิดรอยแผลจะพบ callus รอบ ๆ แผล ซึ่ง callus นี้จะช่วยป้องกันการแพร่ขยายของเชื้อโรคไปยังเนื้อเยื่อส่วนที่ดีที่อยู่ ใกล้เคียง 

ภาพที่ 17 ลักษณะของ callus ที่เกิดร่วมกับ canker ในต้นแอปเปิ้ล
ที่มา : http://www.apsnet.org/education/IllustratedGlossary/PhotosA-D/callus.htm

3.2 hyperchromic symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการสร้างสีมากเกินไป แบ่งเป็น

1. virescence คือลักษณะอาการที่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นในเนื้อเยื่อที่ตามปกติแล้วไม่มี

2. anthocyanescence คือลักษณะอาการที่มีสีม่วงเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่ควรจะมีสี เขียว เนื่องจากมีการสร้าง anthocyanin pigment มากเกินไป

3. bronzing คือลักษณะอาการที่มีสีคล้ายสีของทองแดงเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อพืช

ภาพที่ 18 ลักษณะอาการ bronzing ที่เกิดกับผลกล้วย
ที่มา : http://www.dpi.qld.gov.au/horticulture/4976.html

3.3 Metaplastic symptom คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อพืชมีการเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง

1. heterotopy คือการเกิดของอวัยวะในที่ที่ไม่ควรจะเกิด เช่นส่วนที่ควรจะเป็นกลีบดอก (petal) หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอก กลับเจริญเป็นใบ เรียกว่า phyllody หรือลักษณะอาการที่พืชซึ่งเจริญเต็มที่แล้วเกิดมีการสร้างใบที่มีรูปร่าง เหมือนใบของต้นอ่อน เรียกว่า juvenillody

2. russeting คือลักษณะอาการที่ผิวของผลหรือหัวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวหยาบ และขรุขระ เนื่องจากผนังเซลล์ผิวและเซลล์ที่อยู่ใต้เซลล์ผิวสร้าง suberin ขึ้น โดยที่ขนาดของเซลล์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง 

ภาพที่ 19 ลักษณะอาการ russeting ที่เกิดกับผลของแอปเปิ้ล
ที่มา : http://www.oznet.ksu.edu/dp_hfrr/extensn/problems/AppleRusseting.htm

3.4 Proleptic symptom คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อพืชถูกสร้างขึ้นเร็วกว่าปกติ

1. prolepsis คือลักษณะอาการที่ยอดซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่แตกออกมาจากตา มักจะเกิดขึ้นภายหลังเกิดโรค die – back หรือหลังจากที่กิ่งได้รับอันตราย

2. proleptic abscission คือลักษณะอาการร่วงหล่นของใบก่อนที่ใบจะแก่ เนื่องจากมีการสร้าง abscission layer ขึ้นที่ฐานของก้านใบเร็วกว่าปกติ

3. restoration คือลักษณะอาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งยังเจริญไม่เต็มที่เกิดการพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว เช่น การสุกก่อนกำหนดของผลไม้ที่ยังไม่โตเต็มที่