น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การผลิตพืชอินทรีย์

การผลิตพืชอินทรีย์


1. ระยะการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์
มาตรฐาน
  1.1 พื้นที่การผลิตที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต้องผ่าน ระยะปรับเปลี่ยน โดยช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. และได้รับการตรวจและรับรองจาก มกท. แต่ผลิตผลที่ได้จากพืชที่ปลูกในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้จะยังไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลิตผลอินทรีย์ได้ วันที่สมัครขอให้มีการรับรองมาตรฐานฯ ให้นับเป็นวันที่ 1 ของการเริ่มต้นของการเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือเป็นวันเริ่มต้นของระยะการปรับเปลี่ยน โดยเกษตรกรต้องเริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. นับตั้งแต่วันดังกล่าว
  1.2 ในกรณีที่เป็นการผลิตพืชล้มลุก (ผัก และพืชไร่ ) ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 12เดือน โดยผลิตผลของพืชที่ปลูกในวันที่พ้นระยะการปรับเปลี่ยนแล้ว จะสามารถจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์" และสามารถใช้ตรา มกท. ได้ ยกเว้น พืชผักหลายฤดู เช่น ผักพื้นบ้าน กล้วย มะละกอ ฯลฯ อนุญาตให้สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลและจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์" ได้หลังจากพ้นระยะการปรับเปลี่ยน 12 เดือนแล้ว
  1.3 ในกรณีที่เป็นการผลิตไม้ยืนต้น ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 18เดือน โดยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในวันที่พ้นระยะการปรับเปลี่ยนแล้ว จะสามารถจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์" และสามารถใช้ตรา มกท. ได้
  1.4 ในกรณีที่เป็นการผลิตพืชเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรปกำหนดระยะปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานการผลิตพืช ของสหภาพยุโรปดังนี้ พืชล้มลุกมีระยะปรับเปลี่ยน 24เดือน และ พืชยืนต้นมีระยะปรับเปลี่ยน 36เดือน
  1.5 มกท. อาจจะกำหนดระยะการปรับเปลี่ยนให้เพิ่มขึ้นได้ โดยพิจารณาจากประวัติการใช้สารเคมีในฟาร์ม ปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในพื้นที่นั้น และมาตรการในการจัดการสารเคมีทางการเกษตรหรือมลพิษที่ปนเปื้อนในฟาร์ม
  1.6 มกท. อาจยกเว้นระยะการปรับเปลี่ยนได้ หากพื้นที่การผลิตนั้นได้ทำการเกษตรตามหลักการในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่นำมายืนยันกับ มกท. เช่น บันทึกการใช้ปัจจัยการผลิตในฟาร์ม บันทึกการผลิตพืชในพื้นที่ดังกล่าว บันทึกจากองค์กรที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตที่แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานและได้รับการฟื้นฟูสภาพดินโดยธรรมชาติ บทความในสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ฯลฯ ทั้งนี้ มกท. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเป็นกรณีไป

2. ชนิดและพันธุ์ของพืชปลูก
แนวทางปฏิบัติ
ควรเลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
มาตรฐาน
  2.1 เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำมาปลูกต้องผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์
  2.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์พืชจากระบบเกษตรอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้จากแหล่งทั่วไปได้ แต่ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี ยกเว้น ในกรณีจำเป็นที่เพิ่งเริ่มมีการทำเกษตรอินทรีย์กันในพื้นที่นั้นหรือมีเหตุสุดวิสัย อาจอนุโลมให้ใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่คลุกสารเคมีได้ (เช่น ซื้อจากท้องตลาด) แต่เกษตรกรจะต้องพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์พืชขึ้นเองในไร่นา หรือแลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิกที่ทำเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2557
  2.3 ในกรณีไม้ยืนต้น ถ้ากิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำมาปลูกในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ไม่ได้มาจากระบบเกษตรอินทรีย์ ผลิตผลที่ได้จากการปลูกในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในช่วง 12เดือนแรก จะยังไม่สามารถจำหน่ายภายใต้ตรา มกท.ได้
  2.4ห้ามใช้พันธุ์พืชและละอองเกสร (pollen) ที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) รวมถึงพืชที่ถูกปลูกถ่ายยีน (transgene plants)

3.ความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม
มาตรฐาน
3.1 ในการปลูกพืชล้มลุก ผู้ผลิตต้องสร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม โดยอย่างน้อยต้องปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อช่วยลดการระบาดของโรค แมลง และวัชพืช รวมทั้งการปลูกพืชบำรุงดิน เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ผลิตได้สร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์มได้ด้วยวิธีอื่น
3.2 ในสวนไม้ยืนต้น ผู้ผลิตต้องสร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม โดยอย่างน้อยต้องปลูกพืชคลุมดิน และ/หรือปลูกพืชอื่น ๆ หลากหลายชนิด

4. การผลิตพืชคู่ขนาน
มาตรฐาน
  4.1 พืชที่ปลูกในแปลงเกษตรทั่วไปที่ไม่ได้ขอรับรองและแปลงที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน ไม่ควรเป็นพืชชนิดเดียวกันกับที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์และที่ต้องการจะจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ยกเว้น เป็นพืชคนละพันธุ์(varieties)กัน ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างได้โดยง่าย เช่น มีลักษณะรูปร่าง สี ฯลฯ แตกต่างกัน หรือมีวันเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน
  4.2 มกท. อาจอนุญาตให้ผู้ผลิตทำการผลิตพืชคู่ขนานได้ เฉพาะการผลิตพืชอินทรีย์กับอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเท่านั้น โดยผู้ผลิตต้องแจ้งแผนการผลิตและมาตรการป้องกันผลิตผลปะปนกันดังต่อไปนี้ ให้ มกท. ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการผลิต
    4.2.1 ผลิตผลอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจาก มกท. กับผลิตผลอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนต้องเก็บเกี่ยวคนละวันกัน และ
    4.2.2 มีระบบการจัดการผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวแยกกันอย่างชัดเจน โดยผลิตผลที่ต้องการจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจาก มกท. จะไม่มีโอกาสปะปนกับผลิตผลอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน และ
    4.2.3 มีการจัดทำบันทึกการผลิต และ การขายทั้งสองประเภทแยกออกจากกัน
ทั้งนี้ มกท. อาจกำหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตปฏิบัติและมีการไปตรวจสอบเพิ่มเติม และ มกท. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณารับรองเป็นกรณีไป
  4.3 ในกรณีที่ผู้ผลิตได้รับค่าตอบแทนจากการให้ผู้อื่นเช่าพื้นที่ เป็นผลิตผลพืชชนิดเดียวกับพืชที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐานข้อ 2.4.2.2และ 2.4.2.3เช่นเดียวกัน และผู้ผลิตต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ มกท. อาจกำหนดขึ้นเพิ่มเติม

5. การจัดการดิน นํ้า และปุ๋ย
แนวทางปฏิบัติ
• ควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินอย่างน้อย 1ครั้ง เพื่อวางแผนปรับปรุงดิน และวางแผนการจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสม รวมทั้งเป็นแนวทางในการเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
• ควรรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของดินที่เหมาะสมต่อพืชปลูก ในกรณีที่จำเป็นอาจใช้ปูนขาว โดโลไมท์ ปูนมาร์ล หรือขี้เถ้าไม้ เป็นต้น
• ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า ควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วแป๋ ถั่วลาย ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วพร้า ไมยราบไร้หนาม โสน ปอเทือง เป็นต้น
• ควรมีการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชบำรุงดินอื่น ๆ เป็นปุ๋ยพืชสด โดยอาจปลูกก่อนหรือหลังพืชหลัก หรือปลูกเป็นพืชหมุนเวียน
• หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น รถแทรกเตอร์ เนื่องจากทำให้เนื้อดินแน่นแข็ง ดินไม่ร่วนซุย การระบายนํ้าไม่ดี
• ควรมีมาตรการอนุรักษ์นํ้าที่ใช้ในการทำฟาร์ม
• ควรมีมาตรการในการป้องกันดินเค็ม เช่น การปลูกพืชคลุมดิน หรือ การจัดการนํ้าอย่างเหมาะสม
มาตรฐาน
การปรับปรุงบำรุงดิน
  5.1 ผู้ผลิตต้องพยายามนำอินทรียวัตถุทั้งจากพืชและสัตว์ภายในฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดิน และลดการใช้อินทรียวัตถุที่นำมาจากนอกฟาร์ม มกท. จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้ผลิตนำอินทรียวัตถุที่นำมาจากนอกฟาร์มมาใช้ได้เป็นกรณีไป โดยปริมาณที่อนุญาตให้ใช้จะพิจารณาจากสภาพในท้องถิ่นและความต้องการของพืชที่ปลูก
  5.2 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีแผนการใช้อย่างผสมผสาน และใช้เท่าที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมดุลของธาตุอาหารในดิน และความต้องการธาตุอาหารของพืชที่ปลูก
  5.3 อนุญาตให้ใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน เฉพาะตามรายการที่ระบุอยู่ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 1)
  5.4 ปุ๋ยและสารปรับปรุงบำรุงดินที่ไม่ได้ระบุไว้ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 1) จะใช้ได้ต่อเมื่อได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจาก มกท. ตามแนวทางการประเมินปัจจัยการผลิต ในภาคผนวก 4
  5.5 ห้ามนำมูลสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการหมักเบื้องต้น (aging) มาใช้กับพืชโดยตรง ยกเว้นมีการอบผ่านความร้อนจนแห้งดีแล้ว หรือใช้ในการเตรียมดิน โดยคลุกดินทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 1เดือน ก่อนการปลูกพืช
  5.6 ห้ามใช้อินทรียวัตถุที่มีส่วนผสมจากอุจจาระของมนุษย์มาใช้เป็นปุ๋ย
  5.7 ห้ามใช้ปุ๋ยหมักจากขยะเมือง เพราะมีปัญหาการปนเปื้อนจากโลหะหนัก
  5.8 ในกรณีที่ใช้มูลสัตว์ปีกหรือผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์จากฟาร์ม ต้องมาจากฟาร์มที่เลี้ยงแบบปล่อยรวมเป็นฝูงหรือไม่มีการจำกัดอาณาเขตจนทำให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมชาติ และต้องแจ้งแหล่งผลิตให้ มกท. ทราบ
  5.9 อนุญาตให้ใช้ปุ๋ยหมักทั้งที่ผลิตเองในฟาร์มและที่นำมาจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักต้องมาจากอินทรียวัตถุตามที่ระบุอยู่ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 1) เท่านั้น และผู้ผลิตต้องแจ้งส่วนประกอบของอินทรียวัตถุที่ใช้ในการหมักและแหล่งผลิตให้ มกท. ทราบ
  5.10 ในการทำปุ๋ยหมัก อาจใช้ปุ๋ยแร่ธาตุเสริมในการทำปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มธาตุอาหารได้ เช่น การใช้หินฟอสเฟตบดละเอียดเพื่อเพิ่มธาตุฟอสฟอรัส หรือการใช้หินฝุ่นกราไฟต์เพื่อเพิ่มธาตุโพแทสเซียม
  5.11 อนุญาตให้ใช้อินทรียวัตถุที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมมาทำปุ๋ยหมักได้ แต่ต้องขออนุมัติจาก มกท. ก่อน
  5.12 ในกรณีที่ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินที่นำมาใช้จากนอกฟาร์ม เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยแร่ธาตุ ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ มีความเสี่ยงที่จะมีส่วนประกอบของโลหะหนักและ/หรือสารไม่พึงประสงค์อื่นๆปะปนอยู่ ทาง มกท. อาจให้ผู้ผลิตนำปุ๋ยและสารปรับปรุงดินดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสาร ก่อนที่จะนำมาใช้ในฟาร์ม โดยจะต้องมีโลหะหนักเจือปนไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 6
  5.13 อนุญาตให้ใช้ปุ๋ยแร่ธาตุเป็นธาตุเสริมในดินได้ เฉพาะในกรณีที่มีแผนการปรับปรุงบำรุงดินในระยะยาว โดยใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การหมุนเวียนธาตุอาหารภายในฟาร์ม การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน และการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
5.14 การใช้ปุ๋ยธาตุอาหารรอง (ตามรายการในภาคผนวก 1ส่วนที่ 1) อาจอนุญาตให้ใช้ได้ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารรองอย่างชัดเจน ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องชี้แจงถึงปัญหาและความพยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่นๆ แล้ว และ/หรือมีผลการตรวจดินและเนื้อเยื่อพืชมาให้ มกท. พิจารณา
5.15 อนุญาตให้ใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน ทำปุ๋ยหมัก กำจัดนํ้าเสีย และกำจัดกลิ่นในคอกปศุสัตว์ แต่ห้ามใช้จุลินทรีย์ที่มาจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม
5.16 ห้ามใช้ Chilean nitrate และปุ๋ยไนโตรเจนสังเคราะห์ทุกชนิด รวมถึงปุ๋ยยูเรีย
การอนุรักษ์ดินและนํ้า
5.17 ห้ามเผาตอซังหรือเศษวัสดุในแปลงเกษตร เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ยกเว้น
5.17.1 มีเหตุจำเป็น เช่น กำจัดแหล่งระบาดของศัตรูพืช
5.17.2 การทำไร่ข้าวหมุนเวียนในที่สูง แต่ควรเผาเท่าที่จำเป็น
5.18 ในกรณีที่พื้นที่มีความเสี่ยงต่อการพังทลายของดิน ผู้ผลิตต้องมีมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เช่น การปลูกพืชป้องกันการพังทะลายของดิน การปลูกขวางแนวลาดเอียง ฯลฯ
5.19 ผู้ผลิตต้องมีมาตรการป้องกันมิให้เกิดการใช้นํ้าเกินควร รวมถึงการรักษาคุณภาพนํ้า การหมุนเวียนการใช้นํ้าภายในฟาร์ม และการบำบัดนํ้าทิ้งเพื่อนำมาใช้ใหม่
5.20 ในกรณีที่เหมาะสม ผู้ผลิตต้องมีมาตรการในการป้องกันปัญหาดินเค็ม
5.21 ในกรณีที่มีการเลี้ยงสัตว์ (รวมถึงสัตว์ปีก) ภายในพื้นที่ที่ขอรับรอง ผู้ผลิตต้องมีมาตรการจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ส่งผลกระทบทำให้ดินเสื่อมหรือแหล่งนํ้าเกิดมลพิษ

6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช / โรคพืช / วัชพืช
แนวทางปฏิบัติ
• ควรส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช (ตัวหํ้า ตัวเบียน) เช่น การปลูกไม้ดอกแซมในไร่นา การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์และแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติ หรือสร้างรังให้นก
• ควรปลูกพืชขับไล่แมลงเป็นพืชร่วมในแปลงปลูกพืช จะช่วยลดปัญหาแมลงศัตรูได้ เช่น ปลูกหอมใหญ่ร่วมกับกะหลํ่าปลี ตะไคร้หอมกับผักคะน้า เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดิมซํ้าบนแปลงเดียวกัน เพื่อลดปัญหาการระบาดของโรคและแมลง เช่น ไม่ควรปลูกผักชนิดเดิมซํ้าบนแปลงเดียวกัน แต่ควรปลูกผักหรือพืชอื่นหมุนเวียนกันในแปลง
• ใช้วิธีเขตกรรมเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช เช่น การไถกลบ การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชคลุมดิน การใช้วัสดุคลุมดินจากธรรมชาติ
มาตรฐาน
  6.1 ระบบการผลิตภายในฟาร์มต้องเอื้อให้เกิดความสมดุลของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเพื่อช่วยลดปัญหาการรบกวนจากแมลงศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช
  6.2 อนุญาตให้ใช้วิธีการและผลิตภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งสารปรุงแต่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เฉพาะตามรายการที่ระบุอยู่ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 2และส่วนที่ 5)
  6.3 วิธีการและผลิตภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ได้ระบุไว้ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 2และส่วนที่ 5) อาจอนุญาตให้ใช้ได้เมื่อได้รับการตรวจสอบจาก มกท. ตามแนวทางการประเมินปัจจัยการผลิต ในภาคผนวก 4
  6.4 อนุญาตให้ใช้ หางไหลหรือโลติ๊นได้ แต่สำหรับพืชกินใบต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 7วันก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต และต้องใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากเป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลา
  6.5 ห้ามใช้ผงซักฟอก หรือสารจับใบสังเคราะห์ทุกชนิด
  6.6 อนุญาตให้ใช้วิธีกล และการควบคุมโดยชีววิธีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่ต้องระวัง มิให้มีผลกระทบต่อสมดุลระหว่างศัตรูพืชกับแมลงและสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติในฟาร์ม
  6.7 อนุญาตใช้ความร้อนในการอบฆ่าแมลงและเชื้อโรคในดินได้ เฉพาะในเรือนเพาะชำ ในกรณีที่ต้องการเพาะกล้าหรือเมล็ดที่มีความอ่อนแอต่อโรคเท่านั้น
  6.8 ในการใช้ฟางข้าวคลุมดินเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน ควรใช้ฟางข้าวที่ได้จากนาข้าวอินทรีย์ แต่ถ้าหาไม่ได้ อนุญาตให้ใช้ฟางข้าวที่ได้จากการทำเกษตรเคมีได้
  6.9 อนุญาตให้ใช้พลาสติกในการคลุมดิน ห่อผลไม้ และทำเป็นมุ้งกันแมลงได้ เฉพาะที่ทำจากโพลีเอทิลีน และโพลีโพรพิลีน หรือจากสารประกอบโพลีคาร์บอเนทเท่านั้น โดยต้องเก็บออกจากแปลงหลังการใช้ และห้ามเผาทิ้งในพื้นที่ทำการเกษตร
  6.10 สารที่อนุญาตให้ใช้ตามมาตรฐาน มกท.ที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์กับดัก และกาวดักแมลง ผู้ผลิตจะต้องจัดการมิให้สารหรืออุปกรณ์ดังกล่าวสัมผัสพืชปลูกและปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม ทั้งขณะที่ใช้อยู่ในแปลงและหลังจากเลิกใช้แล้ว
 
7. สารเร่งการเจริญเติบโตและสารอื่น ๆ
มาตรฐาน
  7.1 ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์เร่งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช เช่น IBA และ NAA ในการขยายพันธุ์พืช
  7.2 ห้ามใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมสีผลไม้เพื่อให้ดูสวยงาม
  7.3 อนุญาตให้ใช้สารเร่งการเจริญเติบโตและสารปรุงแต่งอื่น ๆ เฉพาะที่ระบุไว้ในภาคผนวก 1 (ส่วนที่ 2) สารอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจอนุญาตให้ใช้ได้เมื่อได้รับการตรวจสอบจาก มกท. ตามแนวทางการประเมินปัจจัยการผลิต ในภาคผนวก 4

8. การป้องกันการปนเปื้อน
มาตรฐาน
  8.1 ในกรณีที่แปลงเกษตรอินทรีย์อาจได้รับการปนเปื้อนจากแปลงข้างเคียงที่มีการใช้สารเคมี แหล่งมลพิษ และแหล่งปนเปื้อน ผู้ผลิตต้องมีแนวกันชนป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงข้างเคียงโดยมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1เมตร โดยแนวกันชนดังกล่าวต้อง
    8.1.1 ในกรณีที่มีการปนเปื้อนทางอากาศ ต้องมีการปลูกพืชเป็นแนวกันลม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มาจากการฉีดพ่นสารเคมีทางอากาศ โดยพืชที่ปลูกเป็นแนวกันลมไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้ ดังนั้นพืชที่ปลูกเป็นแนวกันลมจึงต้องเป็นพืชคนละพันธุ์กับพืชที่ต้องการจะขอรับรองจาก มกท. ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างกันได้โดยง่าย
    8.1.2 ในกรณีที่มีการปนเปื้อนทางนํ้า จะต้องมีการทำคันดินล้อมรอบแปลงหรือทำร่องนํ้า เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีที่มาจากนํ้า ทั้งนี้ในกรณีที่แปลงเกษตรอินทรีย์นั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนมาก ทาง มกท. อาจพิจารณาให้ขยายขนาดแนวกันชนเพิ่มขึ้น
  8.2 ในกรณีที่แปลงเกษตรอินทรีย์มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีหรือโลหะหนัก ทั้งที่เกิดจากมลพิษภายนอกหรือจากประวัติการใช้สารเคมีหรือปัจจัยการผลิตในฟาร์มในอดีต ผู้ผลิตต้องยอมให้ มกท. นำตัวอย่างนํ้า ดิน หรือผลิตผล ไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบหาการปนเปื้อน โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเอง
  8.3 ในกรณีที่แปลงเกษตรอินทรีย์มีความเสี่ยงการปนเปื้อนสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์จากการใช้ปัจจัยการผลิตหรือจากแปลงข้างเคียง ผู้ผลิตต้องมีมาตรการดังต่อไปนี้
    8.3.1 หาหนังสือรับรองที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจัยการผลิตดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงปนเปื้อน
    8.3.2 หาข้อมูลยืนยันว่าไม่มีประวัติการปลูกพืชที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนภายในแปลงเกษตรอินทรีย์และในพื้นที่ข้างเคียง
    8.3.3 หากพบความเสี่ยงปนเปื้อนสูง ผู้ผลิตต้องยินยอมให้ มกท. นำตัวอย่างพืชไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเอง
  8.4 ห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือสารเคมีที่ใช้ในระบบเกษตรเคมี ปะปนกับเครื่องมือฉีดพ่นที่ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์
  8.5 ในกรณีที่มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เช่น เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวด ฯลฯ ร่วมกันทั้งฟาร์มเกษตรเคมีและอินทรีย์ ผู้ผลิตต้องทำความสะอาดเครื่องจักรดังกล่าวก่อนที่จะนำไปใช้ในแปลงเกษตรอินทรีย์
  8.6 ห้ามเก็บปัจจัยการผลิตที่ไม่อนุญาตไว้ในฟาร์มอินทรีย์ การเก็บปัจจัยการผลิตอินทรีย์และเคมีจะต้องแยกกันชัดเจน

ที่มา :  http://www.bcca.go.th/organic-agriculture/?option=List&id_type=8&id_view=37&to=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C&


วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์

การปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์
            วิธีปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (liquid culture) เป็นการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นๆและใช้ได้ดีในที่ที่มีแดดจัด วิธีการหลักคือการนำรากพืชจุ่มลงในสารละลายโดยตรง รากพืชไม่มีการเกาะยึดกับวัสดุใดๆ ยังสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ ดังนั้นจึงมักใช้การยึดเหนี่ยวในส่วนของลำต้นไว้แทนเป็นการรองรับรากของต้นพืชเพื่อการทรงตัว   หลักการนำรากพืชจุ่มในสารละลายและข้อสังเกตในการปลูกพืชในน้ำ  คือ  ปกติแล้ว ถ้านำต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินมาวางแช่น้ำ  ในระยะแรกต้นพืชจะยังสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้  แต่่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกลับพบว่า  ต้นพืชที่เจริญต่อไปนั้นกลับแสดงอาการเหี่ยวเฉาโดยสาเหตุมาจากเมื่อรากพืชแช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเกิดการขาดออกซิเจนจึงทำให้พืชเฉาตาย ดังนั้น  การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร  จึงต้องมีหลัก และเทคนิควิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่น คือ ต้องพัฒนารากพืชในต้นเดียวกันนั้นให้สามารถทำงานได้   หน้าที่พร้อมๆ กัน  คือ  รากดูดออกซิเจน (oxygen roots) และ รากดูดน้ำและธาตุอาหาร(water nutrient roots) การจะทำให้รากพืชทำงานได้ทั้ง หน้าที่นั้นต้องพยายามให้ส่วนหนึ่งของรากพืชสัมผัสกับอากาศได้โดยตรงบริเวณโคนราก(ส่วนนี้ต้องให้มีช่องว่างของอากาศไว้สำหรับให้รากหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป  และอีกส่วนหนึ่งตรงปลายรากจุ่มแช่อยู่ในสารละลาย) ซึ่งหลักการคือ รากส่วนที่มีหน้าที่ดูดน้ำและอาหารสามารถพัฒนาเป็นรากดูดอากาศได้ แต่รากดูดอากาศจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรากดูดน้ำและแร่ธาตุได้    ดังนั้นจึงต้องไม่เติมสารละลายท่วมรากส่วนที่ทำหน้าที่ดูดอากาศเพราะพืชจะไม่่สามารถดูดออกซิเจนและตายได้ในที่สุด   ด้วยหลักการดังกล่าวต้นพืชจึงสามารถจุ่มแช่อยู่ในสารละลายได้โดยไม่เน่าตายและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเติมอากาศกับพืชบางชนิด ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับของสารละลาย  ให้มีความเหมาะสมกับความยาวของรากพืชในแต่ละช่วงอายุของพืชด้วย หรืออาจใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเติมออกซิเจนให้แก่รากพืช   และสำหรับระบบการให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชนั้นแบ่งเป็น วิธี คือ 
 1. แบบสารละลายไม่หมุนเวียน (non-circulating system) สามารถทำได้โดยเตรียมภาชนะปลูกที่ไม่มีรอยรั่วซึม นำสารละลายที่เตรียมไว้เติมลงในระดับที่พอเหมาะ แล้วนำตะแกรงหรือแผ่นโฟมเจาะรูวางทาบที่ปากภาชนะเพื่อช่วยพยุงต้นให้ทรงตัวอยู่ได้หลังจากนั้นนำต้นกล้าที่เพาะบนฟองน้ำมาสอดเข้าในรูโฟม วิธีนี้ยังเป็นการช่วยปกป้องมิให้แสงสว่างสอดส่องลงมาในสารละลายได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงคือการเว้นช่องว่างระหว่างพื้นผิวสารละลายกับแผ่นโฟมเพื่อเป็นพื้นที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืชการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียนนี้ยังจำแนกย่อยได้เป็น 2 วิธี คือ
     
    
1.1 แบบไม่เติมอากาศ 
รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียน ไม่เติมอากาศ    ที่มา : ถวัลย์, 2534
                                                         
    
  1.2 แบบเติมอากาศ   โดยใช้ปั๊มลมให้ออกซิเจน  เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มทดลองหรือปลูกเป็นงานอดิเรก เพราะใช้ต้นทุนต่ำ  ติดตั้งง่าย สามารถใช้งานได้เร็ว และสามารถควบคุมโรคที่มาจากการไหลเวียนของน้ำได้ง่าย
รูปภาพการปลูกแบบสารละลายไม่หมุนเวียน  เติมอากาศ
   
ที่มา : ถวัลย์, 2534
 2. แบบสารละลายหมุนเวียน (circulating system) จุดสำคัญของระบบนี้คือ การใช้ปั๊มในการผลักดันให้สารละลายมีการไหลเวียนดีขึ้นข้อดีของระบบนี้คือ นอกจากจะมีการเพิ่มออกซิเจนให้รากพืชโดยตรงแล้ว ยังเป็นการช่วยให้้สารละลายเกิดการเคลื่อนไหวช่วยไม่ให้ธาตุอาหารตกตะกอน ทำให้ต้นพืชได้รับอาหารเต็มที่ เป็นระบบที่ใช้แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ สามารถแบ่งย่อยออกเป็น วิธี คือ
    
       2.1 การให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (nutrient flow technique) มีวิธีการเหมือนการปลูกพืชแช่ในลำธารเล็กๆมีน้ำตื้นๆ ที่ระดับความลึกเพียง 5-10 เซนติเมตรไหลช้าๆ ผ่านรากพืชสม่ำเสมอ
รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง
 
ที่มา : ถวัลย์, 2534

    
  2.2 การให้สารละลายผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ (nutrient film technique) เป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมากเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในลำรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่่ 5-35 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดของพืชที่ปลูก ลำรางสูงประมาณ เซนติเมตร ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร แต่โดยทั่วไปไม่ควรเกิน10 เมตร เพราะจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนระหว่างหัวและท้ายรางได้ รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำหนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป หรือทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรือ อลูมิเนียมบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย ต้นพืชจะลอยอยู่ในลำรางได้โดยใช้วัสดุห่อหุ้มต้นหรือให้รากพืชเกาะยึดกับวัสดุรองรับรากที่สามารถดูดซับน้ำได้ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ polyurethane foam แต่สำหรับประเทศไทยการใช้วัสดุชนิดนี้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงต้องใช้วัสดุอื่นที่หาได้ในประเทศไทยแทนรางปลูกจะถูกปรับให้ลาดเทประมาณร้อยละ 2 สารละลายจะถูกปั๊มสูบน้ำจากถังเก็บสารละลาย แล้วปล่อยเป็นฟิล์มบางๆ ผ่านรากพืชด้วยความเร็วประมาณ ลิตรต่อนาทีเพื่อให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของลำรางจะมีรางนำรองรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้แล้วไปรวมที่ถังเพื่อดูดกลับมาใช้ใหม่
รูปภาพการปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ
 
ที่มา : ถวัลย์, 2534
ข้อดีและข้อเสียของระบบ N.F.T.
 
ข้อดี
ข้อเสีย
1.ระบบการให้สารละลายแก่พืชไม่ยุ่งยาก1.ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ขาตั้งทำจากโลหะ
2.ทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่าง ๆ ในสารละลายได้ง่าย2.เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด     เพราะมีโอกาสที่ระบบจะเสียได้ง่าย และพืชจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
3.เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด3.ต้องใช้น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่น้อย (สารละลายต่างๆ)   ถ้ามีสิ่งเจือปนอยู่มากจะเกิดการสะสมของ เกลือบางตัวที่พืชใช้น้อยหรือไม่ดูดใช้เลยสะสมอยู่ในสารละลาย ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนสารละลายบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลือง
4.ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด4.มีปัญหามากเกี่ยวกับการสะสมของอุณหภูมิของสารละลาย   โดยเฉพาะในเขตร้อนมีผลต่อการละลายตัวของออกซิเจนในสารละลายลดลง จะทำให้พืชอ่อนแอรากถูกทำลายโดยโรคพืชได้ง่าย การเจริญเติบโตลดลง จนถึงไม่สามารถปลูกพืชได้เลย
5.สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูก เช่นสามารถปลูกผักสลัดได้ถึง 8-10 ครั้ง/ปี5.มีการแพร่กระจายของโรคพืชบางชนิดอย่างรวดเร็ว

การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน

การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน  

ให้ใส่จุลินทรีย์ เข้าช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน  การรักษาสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินโดยการเติมอินทรียวัตถุคืนแก่ดิน ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เป็นเทคนิคอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างเร่งด่วน จึงต้องหาจุลินทรีย์ที่ดีมาใช้
แหล่งที่มาของเชื้อจุลินทรีย์
1.หน้าดินดีจากป่า (จากแหล่งที่อยู่ใกล้พื้นที่)
2.ดินจากโคนจอมปลวกที่มีความร่วนซุย
3.ดินเศษซากพืชตามโคนไม้ใหญ่ที่ไม่เคยใช้สารเคมี เช่น ดินโคนต้นจามจุรีหรือดินบริเวณกอไผ่ สังเกตบริเวณมีไส้เดือนอาศัย 
การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากป่า  (เรียกว่าหัวเชื้อดินดีจากป่า)
นำเชื้อดินดีจากป่าบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในป่าที่มีเศษใบไม้ทับถมและมีความชื้นมีลักษณะยุ่ยสลายกลายเป็นดินแล้ว มีความอ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเห็ด
ประมาณ 1- 2 กก.

การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง   
       
ใบไม้ต่างๆ ,น้ำ ,กากน้ำตาล ,รำละเอียด ดินจากป่าสมบูรณ์  เลี้ยงไว้ในร่มไม้ไม่มีแดด

1.หัวเชื้อดินดีจากป่า1ส่วน(1กก.)
2.รำละเอียด1ส่วน (1 กก.)
3.เศษใบไม้แห้งละเอียด แกลบดิบ หรือใบไผ่แห้ง 1.กระสอบ (5 กก.)
4.กากน้ำตาล(โมลาส)250 ซีซี. ผสมน้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำ
1.นำวัสดุคลุกเคล้าให้เข้ากันรดน้ำพอหมาด
2.ใช้กระสอบห่อบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ7วัน
3.นำไปทำจุลินทรีย์น้ำ หรือ เก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการขยายเชื้อครั้งต่อไป
4.เก็บรักษาในที่ร่มอุณหภูมิปกติ
    
   
การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบน้ำ 

นำน้ำ 200 ลิตร ,โมลาส 10 กก.(ถ้าไม่มีก็ใช้ปลายข้าวต้ม 10 กก.ใส่แทนกากน้ำตาลได้) ละลายให้เข้ากันในถังที่มีฝาปิด เอาจุลินทรีย์ที่เก็บมาจากป่า หรือจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงแบบแห้งใส่ลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ ข้างบนโรยด้วย รำละเอียดให้ทั่วปากถัง 200 ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ 7-15 วัน ถ้าจุลินทรีย์ที่เก็บมามีความเข็งแรงก็จะเจริญขยายอย่างรวดเร็ว 1-2 วันก็จะเกิดเป็นฝ้าขาวบนผิวน้ำ คือ การขยายตัวของจุลินทรีย์ และ จมลงก็สามารถนำน้ำที่ได้ไปใช้ตามต้องการในการทำการเกษตร

  
        ละลายกากน้ำตาล                             ใส่เชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
   
                   เติมรำ                                   คนให้เข้ากันแล้วปิดฝา
    
ผลการวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากดินป่านำขยายในใบไผ่ 

1. เชื้อรา  5 ไอโซเลท 
แยกเป็น    ไตรโคเดอร์มา        2 ไอโซเลท     
               ไรโซปัส               2 ไอโซเลท
                แอสเปอร์จิลรัส       1 ไอโซเลท               
2. ยีสต์   9 ไอโซเลท
แยกเป็น     แซคคาโรไมสีตส์    4 ไอโซเลท
               ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  5 ไอโซเลท      
3.แบคทีเรีย  5 ไอโซเลท
แยกเป็น    บาซิลัส  4 ไอโซเลท
              ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  1 ไอโซเลท


      
           ไตรโครเดอร์มา                                         บาซิลัส

     
                  ไรโซปัส                                               ยีสต์


สรุปผลการวิเคราะห์

1.มีไตรโคเดอร์มาหลายสายพันธุ์
2.มีเชื้อราและยีสต์หลายชนิดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูงและมีความสามารถในการสร้างเอมไซม์ต่างๆได้
3.มีแบคทีเรียบาซิรัสและยีสต์หลายชนิดที่สามารถสร้างสารยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชได้
4.หากนำจุลินทรีย์ใบไผ่นี้ไปใช้ในแปลงเพาะปลูกพืชจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการปลูกพืชของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาด้านโรคพืชและการเพิ่มการเจริญเติบโต

เทคนิควิธีการนำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำและแห้ง ไปใช้ 

1.1การนำไปใช้เร่งการย่อยสลายฟาง  ฟางเป็นปุ๋ยในแปลงนาที่เราไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก การหมักฟางช่วยเร่งให้ดินฟื้นตัวเร็วขึ้น และเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับแปลงนา

วิธีการคือ  นำหัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ  5  ลิตรใช้ต่อ 1 ไร่ ใส่ลงในถังที่จะนำไปฉีดพ่นในแปลงนาขนาดบรรจุ 150  ลิตร เติมน้ำลงไป 100  ลิตร
พร้อมกับเติมกากน้ำตาล 5 กก. คนให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำเปล่า และกากน้ำตาล ในถังให้เข้ากัน นำไปฉีดหรือสาดให้ทั่วแปลงนา หรือใส่ขณะย่ำฟางและตอซังข้าวในแปลงนาให้จมลงไปในน้ำและดินในแปลงนา จุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในแปลงนาได้ดี
หมักทิ้งไว้ 7-10 วัน ก็สามารถลูปทำเทือกหว่านข้าวได้

1.2การนำไปทำหัวเชื้อหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชผักสีเขียวและน้ำหมักผลไม้ (น้ำหมักชีวภาพ) 

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้ 
วัตถุดิบ, วัสดุ/อุปกรณ์            
1.สับปะรด 1 กก.มะละกอ 1 กก.
กล้วย1กก. พืชผักสีเขียวต่างๆ 3 กก.
2.น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ลิตร      
3..น้ำเปล่า 10 ลิตร     
4..ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาล
ทรายแดง 2 กก.     
5.ถังหรือโอ่งน้ำที่มีฝาปิดเพื่อใช้ในการหมัก
6.ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเพื่อปิดปากถังหรือโอ่งก่อนใช้ฝาปิดป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงถังหมัก

วิธีทำ

นำสับปะรดสุก,มะละกอสุกกล้วยสุกและพืชผักสีเขียวต่างๆ3กก.มาสับหรือปั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้  ใส่น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาลทรายแดง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะหมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดคนให้ทั่วหมักไว้อีก 5- 7 วัน
นำไปใช้ได้ หรือกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ขวดเก็บไว้ในที่เย็นอากาศถ่ายเทสะดวกใช้ได้นาน ส่วนกากนำไปใส่แปลงผักช่วยปรับปรุงสภาพดินได้ดี





ประโยชน์ 

1.ให้ธาตุอาหารแก่พืชผักสูงโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน        
2.ฉีดพ่นอัตราส่วน 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 1ลิตร ช่วยเร่งราก  เร่งใบ
ช่วยให้การเจริญเติบโตของพืชผักดี


1.3การนำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำฮอร์โมนจากสัตว์ สูตรต่างๆ 

ฮอร์โมนรวม   ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย 30 กก.  จุลินทรีย์ 1 ลิตร  กากน้ำตาล 10 ลิตร
ฮอร์โมนรกวัว  ได้แก่ รกวัว 4 กก. ไข่หอย 4 กก.  กากน้ำตาล 5 กก.
ฮอร์โมนไข่  ได้แก่ไข่ไก่ 100 ฟอง,เชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร,น้ำเปล่า 5ลิตร กากน้ำตาล 1กก.
ฮอร์โมนปลา ได้แก่ เศษปลา 3 กก. น้ำมะพร้าว 10 กก. กากน้ำตาล ? กก. จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
ทุกสูตร หมักไว้ 1 เดือนแล้วกรองเอาน้ำไปใช้ได้ดี



1.4 นำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบแห้ง สูตรต่างๆคือ

สูตร1. เศษพืชสับเป็นท่อนๆ 1ปี๊บ เช่นพืชตระกูลถั่ว แค ขี้เหล็ก จามจุร ีสาบเสือ มันสำปะหลัง ฯลฯ แกลบดิบ หรือละอองข้าว 1 ปี๊บ  ฟิลเตอร์เค้ก(กากตะกอนอ้อย) 5 ปี๊บ  หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 1 ลิตร  น้ำสะอาด+กากน้ำตาล ( 1 : 20 )  รำละเอียด 1 ปี๊บ
วิธีทำ  นำทุกอย่างผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ความชื้น 40 % กองคลุมด้วยกระสอบหรือผ้า หมักไว้ 2-3 วันก็นำไปใส่ แปลงผัก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก
สูตร 2. ละอองข้าว 5 ถุง, มูลไก่ไข่ 4 ถุง, กากน้ำตาล 200 ซีซี,
จุลินทรีย์ 200 ซีซี, รำละเอียด15กก.ทุกอย่างผสมรวมกันหมักไว้ 7 วัน นำไปใช้ได้


หมายเหตุ

การนำเชื้อจุลินทรีย์จากป่าไปใช้ต้องเข้าใจด้วยว่าสภาพพื้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์เติบโตแข็งแรงและทำงานให้แก่เราได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
เพราะว่า จุลินทรีย์ที่เรานำมาจากป่า ก็ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์  ได้ทำงานในบทบาทหน้าที่ตามที่ถนัด  มีสังคมเพราะจุลินทรีย์คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็มีการอยู่ร่วมกันมีกระบวนการทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อก่อเกิดการฟื้นฟูสภาพดินให้ได้รวดเร็วมากขึ้น   เกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้จุลินทรีย์ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเพาะเห็ดขอนขาว

               
 “นวัตกรรม” หัวใจเกษตรทันสมัย ทางเลือกใหม่เกษตรกร โอกาสของประเทศไทย
ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการบริโภคของดี มีคุณภาพ ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำการเกษตรในแบบเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
 
การทำเกษตรยุคใหม่ จึงต้องอาศัย “นวัตกรรม”ทั้งด้านเทคโนโลยี และเมล็ดพันธ์ มาพัฒนาสินค้าเกษตรให้โดดเด่น ยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้อยู่ดีกินดี
 
เจียไต๋โปรดิ๊วซ์  ในฐานะที่มุ่งมั่นช่วยเหลือเกษตรกรและยกระดับการเกษตรของไทย ดูแลธุรกิจแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งเรื่องการผลิต รับซื้อ ทำตลาด ได้พยายามจุดประกายแนวทางใหม่ๆ ในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้พัฒนาสายพันธ์เมล่อน และมะเขือเทศ จนแน่ใจว่าให้ผลผลิตที่ดี จึงขยายไปยังเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เข้าร่วมใน“โครงการนำร่องภาคธุรกิจช่วยเหลือคนจน”ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำขึ้นโดยท่านประธานธนินทร์มอบหมายให้ เจียไต๋เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเมล่อน
 
เริ่มต้นโครงการนำร่องในจังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ.2549 และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจมากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินกู้เพื่อเป็นเงินลงทุนครั้งแรกรายละ 4.5 แสนบาท เพื่อให้ปลูกเมล่อนในโรงเรือนขนาด 6.4 X 32 เมตร จำนวน 8 หลัง โดยให้หักผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี หรือ 15 รุ่น ๆ ละ 33,000 บาทต่อการผลิต  
ในระยะแรกๆ เกษตรกรหลายคนที่ยังไม่มีความมั่นใจ ก็ยังไม่เข้าร่วมโครงการ เพราะมองเห็นว่าการทำแบบนี้จะทำให้เป็นหนี้ แต่เมื่อเห็นตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรกลุ่มแรกๆ ที่เข้าโครงการมีรายได้จากการปลูกเมล่อนหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 2 หมื่นบาทต่อเดือน ทำให้มีเกษตรกรรายใหม่สนใจปลูกเมล่อนในโรงเรือนกันอย่างต่อเนื่อง
จากระยะเริ่มต้นมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพียง 56 คน ปัจจุบันขยายเพิ่มอีก 20 คน และในจำนวน50 กว่ารายที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ระยะแรก วันนี้คืนทุนแล้ว 10 ราย
“เกษตรกรกลุ่มนี้ในอดีต ปลูกไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย รายได้ไม่มั่นคง แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการปลูกเมร่อน ชีวิตความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ”
โดยเจียไต๋โปรดิวซ์จะสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีการผลิต การตลาดให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรดังกล่าวสามารถนำความรู้นั้นไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ พร้อมกันนี้บริษัทจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรในราคาประกันตามสัญญาที่บริษัททำกับเกษตรกร 
เกษตรกรจึงไม่มีความเสี่ยงในเรื่องการจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรมีหน้าที่ทำผลผลิตให้ได้คุณภาพผ่านเกณฑ์รับซื้อตามความต้องการของตลาดเท่านั้น ทำให้เกษตรกรวางใจในเรื่องของรายได้ที่แน่นอน
เมล่อนในวันนี้จึงถูกเลือกให้เป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับพื้นที่สุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นผลผลิตที่มีมูลค่าสูง คุ้มค่ากับการลงทุน และเป็นพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ สะดวกต่อการขนส่ง
ความสำเร็จในการทำส่งเสริมเกษตรกรปลูกเมล่อน เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า แนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย มีโอกาสเติบโตก้าวไกลไปได้อีก
เจียไต๋โปรดิวซ์จึงไม่หยุดที่จะแสวงหาพืชผัก ผลไม้สายพันธ์ใหม่ๆ มาพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไปอีกในอนาคต 
ในปัจจุบัน ต่างประเทศนิยมทำฟาร์มในเมือง ในลักษณะฟาร์มแนวตั้ง(Vertical Farm) นำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับระบบโรงเรือน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ได้มากแล้วยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงด้วย ซึ่งแนวทางนี้เมื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์สูงมาก
อีกนวัตกรรมที่เป็นแนวโน้มที่น่าสนใจและต่างประเทศนำมาใช้มากในขณะนี้ คือ เรื่องของการนำแสงสีจาก LED (Light-emitting diode) มาใช้ในการปลูกพืช เนื่องจากพืชต้องการแสง แต่ไม่ต้องการความร้อน แล้วแสงที่พืชต้องการก็ไม่ต้องการตลอดเวลา ต้องการเป็นช่วง ๆเท่านั้น บางช่วงต้องการแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน การปลูกพืชในโรงเรือนสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ ทำให้พืชผัก ผลไม้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้คุณภาพสินค้าดีตามไปด้วย
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปลูกพืช ในช่วงแรกต้องยอมรับว่าอาจจะใช้งบลงทุนสูง แต่เมื่อมองในภาพรวมจะพบว่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง เช่น ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ประหยัดค่าขนส่ง และได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี ทั้งสีสันและรสชาด ทำให้สินค้าขายได้ในราคาสูง ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได
ในระยะยาวถือว่าคุ้มกับการลงทุน เพราะแนวโน้มเรื่องของสุขภาพเป็นเทรนด์(Trend) ที่มาแรงและคาดว่าจะยังเทรนด์ที่แข็งแรง ต่อไปอีกเป็น 10 ปี
ประเทศไทยสร้างรายได้จากโอกาสนี้ได้อย่างไร?
เจียไต๋โปรดิวซ์ นอกจากจะเป็นบริษัทที่จุดประกายนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการทำเกษตรแล้ว ยังมีการพัฒนาในเรื่องของสายพันธุ์โดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของเจียไต๋ จำกัดตลอดเวลา
“ทั่วโลก ยังมีพืชผัก ผลไม้อีกหลายชนิดที่คนไทยยังไม่ได้มีโอกาสรับประทานอยู่มาก โอกาสที่จะนำเข้าเมล็ดพันธ์เพื่อมาพัฒนาปลูกขายในเมืองไทยจึงมีอีกมาก แม้ตลาดจะไม่ใหญ่แต่ความต้องการบริโภคก็มีสูง”
นวัตกรรมการพัฒนาเกษตรในวันนี้ ไม่เพียงแต่เพิ่มแนวทางการทำเกษตรใหม่ๆ เท่านั้นแต่ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยในอีกหลากหลายรูปแบบ อาทิ การขนส่ง การสร้างโรงเรือน การรับจ้างดูแลแปลง การปรับหน้าดิน
ที่สำคัญ ช่วยดึงดูดลูกหลานที่เคยหันหลังให้กับอาชีพเกษตรกรรม กลับมาพลิกฟื้นที่ทำกินให้เป็นขุมทองของเกษตกรต่อไปในอนาคต
เจียไต๋โปรดิวซ์ ลงทุนรับความเสี่ยงในเรื่องของเทคโนโลยีการเพาะปลูกระดับสูง  ทดลองปลูกและทดลองตลาดจนผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดแล้วจึงนำมาเผยแพร่ให้แก่เกษตรกร  คนที่ได้ผลประโยชน์คือ เกษตรกร ผู้บริโภคและประเทศไทย เพระเจียไต๋โปรดิวซ์ไม่มีกำลังที่จะปลูกเพื่อเลี้ยงประชากรทั้งประเทศได้



ยกตัวอย่าง การปลูกพืชผักที่ต้องอาศัยอุณหภูมิต่ำต้องทำแปลงเพาะปลูกที่บนดอยเชียงใหม่ แล้วส่งมาขายกรุงเทพฯ ใช้เวลาในการขนส่งสินค้าไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงบนถนน เมื่อนำระบบโรงเรือนมาใช้ สามารถปลูกในจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระยะเวลาขนส่งสินค้าเพียง 3-4 ชั่วโมงก็ถึงมือผู้บริโภคในกรุงเทพฯ คุณภาพของสินค้าจึงดีกว่า เพราะอายุการเก็บรักษา (shelf  life)ผัก และผลไม้โดยปกติค่อนข้างสั้น
  
  
  
  
  
  
  

ไอเดียจัดสวนในบ้าน (ตอนที่ 1) - เพิ่มมิติความแปลกใหม่ให้สวนสวยในบ้านน่าสนใจมากขึ้นทุกๆ วัน

 ไอเดียจัดสวนในบ้าน (ตอนที่ 1) - เพิ่มมิติความแปลกใหม่ให้สวนสวยในบ้านน่าสนใจมากขึ้นทุกๆ วัน

E-mailPrintPDF