น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

               
 “นวัตกรรม” หัวใจเกษตรทันสมัย ทางเลือกใหม่เกษตรกร โอกาสของประเทศไทย
ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการบริโภคของดี มีคุณภาพ ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การทำการเกษตรในแบบเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
 
การทำเกษตรยุคใหม่ จึงต้องอาศัย “นวัตกรรม”ทั้งด้านเทคโนโลยี และเมล็ดพันธ์ มาพัฒนาสินค้าเกษตรให้โดดเด่น ยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้อยู่ดีกินดี
 
เจียไต๋โปรดิ๊วซ์  ในฐานะที่มุ่งมั่นช่วยเหลือเกษตรกรและยกระดับการเกษตรของไทย ดูแลธุรกิจแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งเรื่องการผลิต รับซื้อ ทำตลาด ได้พยายามจุดประกายแนวทางใหม่ๆ ในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้พัฒนาสายพันธ์เมล่อน และมะเขือเทศ จนแน่ใจว่าให้ผลผลิตที่ดี จึงขยายไปยังเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เข้าร่วมใน“โครงการนำร่องภาคธุรกิจช่วยเหลือคนจน”ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำขึ้นโดยท่านประธานธนินทร์มอบหมายให้ เจียไต๋เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเมล่อน
 
เริ่มต้นโครงการนำร่องในจังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ.2549 และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจมากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับเงินกู้เพื่อเป็นเงินลงทุนครั้งแรกรายละ 4.5 แสนบาท เพื่อให้ปลูกเมล่อนในโรงเรือนขนาด 6.4 X 32 เมตร จำนวน 8 หลัง โดยให้หักผ่อนชำระภายในระยะเวลา 5 ปี หรือ 15 รุ่น ๆ ละ 33,000 บาทต่อการผลิต  
ในระยะแรกๆ เกษตรกรหลายคนที่ยังไม่มีความมั่นใจ ก็ยังไม่เข้าร่วมโครงการ เพราะมองเห็นว่าการทำแบบนี้จะทำให้เป็นหนี้ แต่เมื่อเห็นตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรกลุ่มแรกๆ ที่เข้าโครงการมีรายได้จากการปลูกเมล่อนหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 2 หมื่นบาทต่อเดือน ทำให้มีเกษตรกรรายใหม่สนใจปลูกเมล่อนในโรงเรือนกันอย่างต่อเนื่อง
จากระยะเริ่มต้นมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพียง 56 คน ปัจจุบันขยายเพิ่มอีก 20 คน และในจำนวน50 กว่ารายที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ระยะแรก วันนี้คืนทุนแล้ว 10 ราย
“เกษตรกรกลุ่มนี้ในอดีต ปลูกไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย รายได้ไม่มั่นคง แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการปลูกเมร่อน ชีวิตความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ”
โดยเจียไต๋โปรดิวซ์จะสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีการผลิต การตลาดให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรดังกล่าวสามารถนำความรู้นั้นไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ พร้อมกันนี้บริษัทจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรในราคาประกันตามสัญญาที่บริษัททำกับเกษตรกร 
เกษตรกรจึงไม่มีความเสี่ยงในเรื่องการจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรมีหน้าที่ทำผลผลิตให้ได้คุณภาพผ่านเกณฑ์รับซื้อตามความต้องการของตลาดเท่านั้น ทำให้เกษตรกรวางใจในเรื่องของรายได้ที่แน่นอน
เมล่อนในวันนี้จึงถูกเลือกให้เป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับพื้นที่สุพรรณบุรี เนื่องจากเป็นผลผลิตที่มีมูลค่าสูง คุ้มค่ากับการลงทุน และเป็นพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ สะดวกต่อการขนส่ง
ความสำเร็จในการทำส่งเสริมเกษตรกรปลูกเมล่อน เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า แนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย มีโอกาสเติบโตก้าวไกลไปได้อีก
เจียไต๋โปรดิวซ์จึงไม่หยุดที่จะแสวงหาพืชผัก ผลไม้สายพันธ์ใหม่ๆ มาพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไปอีกในอนาคต 
ในปัจจุบัน ต่างประเทศนิยมทำฟาร์มในเมือง ในลักษณะฟาร์มแนวตั้ง(Vertical Farm) นำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับระบบโรงเรือน เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ได้มากแล้วยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงด้วย ซึ่งแนวทางนี้เมื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์สูงมาก
อีกนวัตกรรมที่เป็นแนวโน้มที่น่าสนใจและต่างประเทศนำมาใช้มากในขณะนี้ คือ เรื่องของการนำแสงสีจาก LED (Light-emitting diode) มาใช้ในการปลูกพืช เนื่องจากพืชต้องการแสง แต่ไม่ต้องการความร้อน แล้วแสงที่พืชต้องการก็ไม่ต้องการตลอดเวลา ต้องการเป็นช่วง ๆเท่านั้น บางช่วงต้องการแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน การปลูกพืชในโรงเรือนสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ ทำให้พืชผัก ผลไม้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้คุณภาพสินค้าดีตามไปด้วย
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปลูกพืช ในช่วงแรกต้องยอมรับว่าอาจจะใช้งบลงทุนสูง แต่เมื่อมองในภาพรวมจะพบว่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง เช่น ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ประหยัดค่าขนส่ง และได้ผลิตผลที่มีคุณภาพดี ทั้งสีสันและรสชาด ทำให้สินค้าขายได้ในราคาสูง ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได
ในระยะยาวถือว่าคุ้มกับการลงทุน เพราะแนวโน้มเรื่องของสุขภาพเป็นเทรนด์(Trend) ที่มาแรงและคาดว่าจะยังเทรนด์ที่แข็งแรง ต่อไปอีกเป็น 10 ปี
ประเทศไทยสร้างรายได้จากโอกาสนี้ได้อย่างไร?
เจียไต๋โปรดิวซ์ นอกจากจะเป็นบริษัทที่จุดประกายนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการทำเกษตรแล้ว ยังมีการพัฒนาในเรื่องของสายพันธุ์โดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของเจียไต๋ จำกัดตลอดเวลา
“ทั่วโลก ยังมีพืชผัก ผลไม้อีกหลายชนิดที่คนไทยยังไม่ได้มีโอกาสรับประทานอยู่มาก โอกาสที่จะนำเข้าเมล็ดพันธ์เพื่อมาพัฒนาปลูกขายในเมืองไทยจึงมีอีกมาก แม้ตลาดจะไม่ใหญ่แต่ความต้องการบริโภคก็มีสูง”
นวัตกรรมการพัฒนาเกษตรในวันนี้ ไม่เพียงแต่เพิ่มแนวทางการทำเกษตรใหม่ๆ เท่านั้นแต่ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยในอีกหลากหลายรูปแบบ อาทิ การขนส่ง การสร้างโรงเรือน การรับจ้างดูแลแปลง การปรับหน้าดิน
ที่สำคัญ ช่วยดึงดูดลูกหลานที่เคยหันหลังให้กับอาชีพเกษตรกรรม กลับมาพลิกฟื้นที่ทำกินให้เป็นขุมทองของเกษตกรต่อไปในอนาคต
เจียไต๋โปรดิวซ์ ลงทุนรับความเสี่ยงในเรื่องของเทคโนโลยีการเพาะปลูกระดับสูง  ทดลองปลูกและทดลองตลาดจนผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดแล้วจึงนำมาเผยแพร่ให้แก่เกษตรกร  คนที่ได้ผลประโยชน์คือ เกษตรกร ผู้บริโภคและประเทศไทย เพระเจียไต๋โปรดิวซ์ไม่มีกำลังที่จะปลูกเพื่อเลี้ยงประชากรทั้งประเทศได้



ยกตัวอย่าง การปลูกพืชผักที่ต้องอาศัยอุณหภูมิต่ำต้องทำแปลงเพาะปลูกที่บนดอยเชียงใหม่ แล้วส่งมาขายกรุงเทพฯ ใช้เวลาในการขนส่งสินค้าไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงบนถนน เมื่อนำระบบโรงเรือนมาใช้ สามารถปลูกในจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระยะเวลาขนส่งสินค้าเพียง 3-4 ชั่วโมงก็ถึงมือผู้บริโภคในกรุงเทพฯ คุณภาพของสินค้าจึงดีกว่า เพราะอายุการเก็บรักษา (shelf  life)ผัก และผลไม้โดยปกติค่อนข้างสั้น
  
  
  
  
  
  
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น