น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน

การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงดิน  

ให้ใส่จุลินทรีย์ เข้าช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน  การรักษาสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินโดยการเติมอินทรียวัตถุคืนแก่ดิน ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เป็นเทคนิคอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างเร่งด่วน จึงต้องหาจุลินทรีย์ที่ดีมาใช้
แหล่งที่มาของเชื้อจุลินทรีย์
1.หน้าดินดีจากป่า (จากแหล่งที่อยู่ใกล้พื้นที่)
2.ดินจากโคนจอมปลวกที่มีความร่วนซุย
3.ดินเศษซากพืชตามโคนไม้ใหญ่ที่ไม่เคยใช้สารเคมี เช่น ดินโคนต้นจามจุรีหรือดินบริเวณกอไผ่ สังเกตบริเวณมีไส้เดือนอาศัย 
การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากป่า  (เรียกว่าหัวเชื้อดินดีจากป่า)
นำเชื้อดินดีจากป่าบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในป่าที่มีเศษใบไม้ทับถมและมีความชื้นมีลักษณะยุ่ยสลายกลายเป็นดินแล้ว มีความอ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเห็ด
ประมาณ 1- 2 กก.

การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง   
       
ใบไม้ต่างๆ ,น้ำ ,กากน้ำตาล ,รำละเอียด ดินจากป่าสมบูรณ์  เลี้ยงไว้ในร่มไม้ไม่มีแดด

1.หัวเชื้อดินดีจากป่า1ส่วน(1กก.)
2.รำละเอียด1ส่วน (1 กก.)
3.เศษใบไม้แห้งละเอียด แกลบดิบ หรือใบไผ่แห้ง 1.กระสอบ (5 กก.)
4.กากน้ำตาล(โมลาส)250 ซีซี. ผสมน้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำ
1.นำวัสดุคลุกเคล้าให้เข้ากันรดน้ำพอหมาด
2.ใช้กระสอบห่อบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ7วัน
3.นำไปทำจุลินทรีย์น้ำ หรือ เก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการขยายเชื้อครั้งต่อไป
4.เก็บรักษาในที่ร่มอุณหภูมิปกติ
    
   
การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบน้ำ 

นำน้ำ 200 ลิตร ,โมลาส 10 กก.(ถ้าไม่มีก็ใช้ปลายข้าวต้ม 10 กก.ใส่แทนกากน้ำตาลได้) ละลายให้เข้ากันในถังที่มีฝาปิด เอาจุลินทรีย์ที่เก็บมาจากป่า หรือจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงแบบแห้งใส่ลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ ข้างบนโรยด้วย รำละเอียดให้ทั่วปากถัง 200 ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ 7-15 วัน ถ้าจุลินทรีย์ที่เก็บมามีความเข็งแรงก็จะเจริญขยายอย่างรวดเร็ว 1-2 วันก็จะเกิดเป็นฝ้าขาวบนผิวน้ำ คือ การขยายตัวของจุลินทรีย์ และ จมลงก็สามารถนำน้ำที่ได้ไปใช้ตามต้องการในการทำการเกษตร

  
        ละลายกากน้ำตาล                             ใส่เชื้อจุลินทรีย์แห้ง 
   
                   เติมรำ                                   คนให้เข้ากันแล้วปิดฝา
    
ผลการวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากดินป่านำขยายในใบไผ่ 

1. เชื้อรา  5 ไอโซเลท 
แยกเป็น    ไตรโคเดอร์มา        2 ไอโซเลท     
               ไรโซปัส               2 ไอโซเลท
                แอสเปอร์จิลรัส       1 ไอโซเลท               
2. ยีสต์   9 ไอโซเลท
แยกเป็น     แซคคาโรไมสีตส์    4 ไอโซเลท
               ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  5 ไอโซเลท      
3.แบคทีเรีย  5 ไอโซเลท
แยกเป็น    บาซิลัส  4 ไอโซเลท
              ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  1 ไอโซเลท


      
           ไตรโครเดอร์มา                                         บาซิลัส

     
                  ไรโซปัส                                               ยีสต์


สรุปผลการวิเคราะห์

1.มีไตรโคเดอร์มาหลายสายพันธุ์
2.มีเชื้อราและยีสต์หลายชนิดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูงและมีความสามารถในการสร้างเอมไซม์ต่างๆได้
3.มีแบคทีเรียบาซิรัสและยีสต์หลายชนิดที่สามารถสร้างสารยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชได้
4.หากนำจุลินทรีย์ใบไผ่นี้ไปใช้ในแปลงเพาะปลูกพืชจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการปลูกพืชของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาด้านโรคพืชและการเพิ่มการเจริญเติบโต

เทคนิควิธีการนำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำและแห้ง ไปใช้ 

1.1การนำไปใช้เร่งการย่อยสลายฟาง  ฟางเป็นปุ๋ยในแปลงนาที่เราไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก การหมักฟางช่วยเร่งให้ดินฟื้นตัวเร็วขึ้น และเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับแปลงนา

วิธีการคือ  นำหัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ  5  ลิตรใช้ต่อ 1 ไร่ ใส่ลงในถังที่จะนำไปฉีดพ่นในแปลงนาขนาดบรรจุ 150  ลิตร เติมน้ำลงไป 100  ลิตร
พร้อมกับเติมกากน้ำตาล 5 กก. คนให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำเปล่า และกากน้ำตาล ในถังให้เข้ากัน นำไปฉีดหรือสาดให้ทั่วแปลงนา หรือใส่ขณะย่ำฟางและตอซังข้าวในแปลงนาให้จมลงไปในน้ำและดินในแปลงนา จุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในแปลงนาได้ดี
หมักทิ้งไว้ 7-10 วัน ก็สามารถลูปทำเทือกหว่านข้าวได้

1.2การนำไปทำหัวเชื้อหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชผักสีเขียวและน้ำหมักผลไม้ (น้ำหมักชีวภาพ) 

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้ 
วัตถุดิบ, วัสดุ/อุปกรณ์            
1.สับปะรด 1 กก.มะละกอ 1 กก.
กล้วย1กก. พืชผักสีเขียวต่างๆ 3 กก.
2.น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ลิตร      
3..น้ำเปล่า 10 ลิตร     
4..ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาล
ทรายแดง 2 กก.     
5.ถังหรือโอ่งน้ำที่มีฝาปิดเพื่อใช้ในการหมัก
6.ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเพื่อปิดปากถังหรือโอ่งก่อนใช้ฝาปิดป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงถังหมัก

วิธีทำ

นำสับปะรดสุก,มะละกอสุกกล้วยสุกและพืชผักสีเขียวต่างๆ3กก.มาสับหรือปั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้  ใส่น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาลทรายแดง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะหมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดคนให้ทั่วหมักไว้อีก 5- 7 วัน
นำไปใช้ได้ หรือกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ขวดเก็บไว้ในที่เย็นอากาศถ่ายเทสะดวกใช้ได้นาน ส่วนกากนำไปใส่แปลงผักช่วยปรับปรุงสภาพดินได้ดี





ประโยชน์ 

1.ให้ธาตุอาหารแก่พืชผักสูงโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน        
2.ฉีดพ่นอัตราส่วน 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 1ลิตร ช่วยเร่งราก  เร่งใบ
ช่วยให้การเจริญเติบโตของพืชผักดี


1.3การนำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำฮอร์โมนจากสัตว์ สูตรต่างๆ 

ฮอร์โมนรวม   ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย 30 กก.  จุลินทรีย์ 1 ลิตร  กากน้ำตาล 10 ลิตร
ฮอร์โมนรกวัว  ได้แก่ รกวัว 4 กก. ไข่หอย 4 กก.  กากน้ำตาล 5 กก.
ฮอร์โมนไข่  ได้แก่ไข่ไก่ 100 ฟอง,เชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร,น้ำเปล่า 5ลิตร กากน้ำตาล 1กก.
ฮอร์โมนปลา ได้แก่ เศษปลา 3 กก. น้ำมะพร้าว 10 กก. กากน้ำตาล ? กก. จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
ทุกสูตร หมักไว้ 1 เดือนแล้วกรองเอาน้ำไปใช้ได้ดี



1.4 นำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบแห้ง สูตรต่างๆคือ

สูตร1. เศษพืชสับเป็นท่อนๆ 1ปี๊บ เช่นพืชตระกูลถั่ว แค ขี้เหล็ก จามจุร ีสาบเสือ มันสำปะหลัง ฯลฯ แกลบดิบ หรือละอองข้าว 1 ปี๊บ  ฟิลเตอร์เค้ก(กากตะกอนอ้อย) 5 ปี๊บ  หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 1 ลิตร  น้ำสะอาด+กากน้ำตาล ( 1 : 20 )  รำละเอียด 1 ปี๊บ
วิธีทำ  นำทุกอย่างผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ความชื้น 40 % กองคลุมด้วยกระสอบหรือผ้า หมักไว้ 2-3 วันก็นำไปใส่ แปลงผัก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก
สูตร 2. ละอองข้าว 5 ถุง, มูลไก่ไข่ 4 ถุง, กากน้ำตาล 200 ซีซี,
จุลินทรีย์ 200 ซีซี, รำละเอียด15กก.ทุกอย่างผสมรวมกันหมักไว้ 7 วัน นำไปใช้ได้


หมายเหตุ

การนำเชื้อจุลินทรีย์จากป่าไปใช้ต้องเข้าใจด้วยว่าสภาพพื้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์เติบโตแข็งแรงและทำงานให้แก่เราได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
เพราะว่า จุลินทรีย์ที่เรานำมาจากป่า ก็ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์  ได้ทำงานในบทบาทหน้าที่ตามที่ถนัด  มีสังคมเพราะจุลินทรีย์คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็มีการอยู่ร่วมกันมีกระบวนการทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อก่อเกิดการฟื้นฟูสภาพดินให้ได้รวดเร็วมากขึ้น   เกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้จุลินทรีย์ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1 ความคิดเห็น: