น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัชพืชที่เป็นสมุนไพร

หญ้าหนวดแมว ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์), พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์) ชื่อวิทยาศาสตร์ Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. ชื่อสามัญ Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers วงศ์ LAMIACEAE (LABIATAE) เป็นพืชอายุสั้น
ขยายพันธุ์โดยการปักชำ ใบเหมือนใบโหระพา แต่ขอบใบหยัก ออกดอกที่ปลายยอดดอกเป็นช่อสีขาวอมม่วง เกสรยื่นยาวออกมาเหมือนหนวดแมว สวยงามมาก สรรพคุณทางยาใช้ได้ทั้งราก ใบ และทั้งต้น ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถแยกสรรพคุณได้ดังนี้
ราก - ขับปัสสาวะ ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต วิธีใช้ในการขับปัสสาวะ คือ ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือนหรือจะใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90 - 120 กรัม แห้ง 40 - 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร มีรสขมหน่อยนะคะ
มีข้อควรระวัง คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
เรียบเรียงโดย นางปาลิตา โตศรีสวัสดิ์เกษม . 27 / 5 / 53. ศว.สระแก้ว
ข้อมูลอ้างอิง : เภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น