น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System)

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) 
เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง  ๆ 
ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว์
หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ
และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์
กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร
ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้ง
ในสวนผลไม้   เป็นต้น
 
รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน

1. แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่เป็นหลัก

1.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก

ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก

1.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก

ซึ่งการดำเนินการเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก

1.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก

ซึ่งจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก
1.4ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร
เป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตร

2. แบ่งตามวิธีการดำเนินการ

2.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี
ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่างๆ
2.2 ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี
ียาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์
คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืชคลุมดิน
2.3ระบบการเกษตรธรรมชาติเป็นระบบการเกษตรที่ใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่
ประสานความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

3. แบ่งตามประเภทของพืชสำคัญเป็นหลัก
 
 3.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก
 3.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีพืชไร่เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช
 เช่น ลักษณะการปลูกพืชตระกูลถั่ว แซมในแถวพืชหลัก
 .3 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นพืชหลัก
 การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น การใช้ไม้ผลต่างชนิด ปลูกแซม
   

 

 
 













 
 
 
 
4. แบ่งตามลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนด
  

4.1 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง
ลักษณะของพื้นที่จะอยู่ในที่ของภูเขาซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าแต่ได้ถูกหักล้างถางพง
ฉะนั้นรูปแบบของการทำการเกษตรผสมผสานจะช่วยรักษาหรือชะลอความสูญเสียลงได้ระดับหนึ่ง
 การดำเนินการอาจทำในรูปของวนเกษตร การปลูกไม้ผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ผสมผสาน
4.2 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนอาศัยน้ำฝน
มีการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นไม้ผลยืนต้น ข้าวไร่
การจัดการในรูปผสมผสาน
4.3 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน โดยทั่วไปในพื้นที่ดอนจะมีการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจต่างๆ
เชิงเดี่ยวเป็นหลัก ลักษณะของการทำการเกษตรผสมผสานอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
ลักษณะการปลูกพืชแซม โดยใช้พืชตระกูลถั่วแซม
4.4 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าวแบบแผนการปลูกพืช
ส่วนใหญ่จะเป็นข้าว อย่างเดียว ข้าว-ข้าว, ข้าว-พืชไร่เศรษฐกิจ, ข้าว-พืชผักเศรษฐกิจ, พืชผัก-ข้าว-พืชไร่,
พืชไร่-ข้าว-พืชไร่ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น