น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การป้องกัน และกำจัด เพลี้ยแป้ง ที่ระบาดในแปลงปลูกมันสำปะหลัง


ข้อมูล เผยแพร่ การป้องกัน และกำจัดเพลี้ยแป้ง ที่ระบาดในแปลงปลูกมันสำปะหลัง โดยสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง) มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (ฉบับปรับปรุง สิงหาคม 2552)


ก. การป้องกันกำจัดในพ้นที่ ที่มีการระบาดระดับรุนแรง

1. มันสำปะหลังอายุไม่เกิน 1 - 4 เดือน

   เกษตรกรจะต้องถอนต้นมันทั้งหมดบรรจุในถุงดำ  ผูกให้แน่น  ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน หรือนำไปทำลายโดยการเผาหรือฝังกลบ  หากต้องการปลุกมันสำปะหลังซ้ำในที่เดิม  ให้ทำการป้องกันกำจัด  โดยทำความสะอาดแปลง  กำจัดเศษวัชพืช  และเศษซากต้นมัน  เพื่อตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยแป้ง  จากนั้นให้ไถพรวนดินทิ้งไว้อย่างน้อย  14  วัน  จึงปลูกใหม่  โดยใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปราศจาก เพลี้ยแป้งตามวิธีการที่แนะนำในข้อ ค.



2. แปลงที่มีมันสำปะหลังอายุ 5-8 เดือน
  
     ให้ตัดเอายอดที่มีเพลี้ยแป้งระบาดทั้งหมดบรรจุถุงดำ  ผูกให้แน่น ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน หรือนำไปทำลายโดยการเผาหรือฝังกลบ  หลังจากนั้นสามารถใช้วิธีป้องกันกำจัดได้หลายวิธี ดังนี้

    2.1  การใช้ชีววิธี  โดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งหรือใชสารชีวินทรีย์
          หลัง จากที่เกษตรกรตัดยอดและนำไปทำลายแล้ว  ควรใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่นให้ทั่วแปลงโดยจะต้องฉีดในช่วงเย็นที่อากาศ ไม่ร้อนมากและความชื้นสัมพัทธ์มนอากาศไม่ต่ำกว่า  50% โดยฉีดซ้ำ 2-3 ครั้ง  ห่างกันครั้งละ  10  วัน สปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียจะสร้างเส้นใยเข้าทำลายอวัยวะต่างๆของเพลี้ย แป้งและระบาดสู่เพลี้ยแป้งตัวอื่น  หลังจากนั้นให้เกษตรกรหมั่นสังเกตว่าจะมีแมลงช้างปีกใส  ซึ่งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งเข้าไปทำลายเพลี้ยแป้งโดยธรรมชาติ  หากไม่มีให้ผลิตแมลงช้างปีกใสไปปล่อย  หรือเกษตรกรอาจติดต่อสำนักงานบริหารศัตรูพืชใกล้บ้าน ขอแมลงช้างปีกใสก็ได้  แมลงช้างปีกใส  1  ตัว  สามารถกินเพลี้ยได้ 150 ตัว ตลอดอายุ  10 วัน

                  
ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส                     ตัวเต็มวัย

          เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์แมลงช้างปีกใสได้ด้วยตัวเอง  โดยสังเกตไข่และตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส   ที่ยอดมันที่มีเพลี้ยแป้ง  เกษตรกรสามารถดูไข่และตัวอ่อนได้ด้วยตาเปล่า  ไข่มีลักษณะเป็นเส้นขาวที่มีหัวคล้ายไม้ขีดไฟสีขาวหรือเขียว  เกาะอยู่ตามใบ  ยอด  ช่อ ให้เตรียมภาชนะที่มีลักษณะเป็นอ่างหรือกาละมังใส่ทรายประมาณครึ่งหนึ่ง  ใส่น้ำให้ปริ่มทรายแล้วนำยอดมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งมาปักในกาละมังคลุม ด้วยตาข่ายมิให้แมลงช้างปีกใสบินหนี  ปล่อยให้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสกินเพลี้ยแป้ง  เมื่อขยายพันธุ์ได้มากให้นำตัวอ่อนไปปล่อยในแปลงที่มีเพลี้ยระบาด  แมลงช้างปีกใสจะช่วยควบคุมเพลี้ยแป้งไม่ให้ระบาดได้

    2.2  วิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่นต้นมันสำปะหลัง
           ใช้สารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม 25%WG ในอัตรส่วน  2  กรัม  ร่วมกับไวท์ออยล์อัตรา 40 ซี.ซี.ผสมน้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่นติดต่อกัน 2  ครั้ง  ห่างกัน  10 วัน  เนื่องจากการฉีดครั้งเดียวอาจกำจัดได้เฉพาะตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัย  แต่ไม่สามารถกำจัดไข่เพลี้ยแป้ง  ซึ่งอยู่ในถุงที่มีใยสีขาวจึงต้องฉีดพ่นซ้ำอีก

    2.3  มันสำปะหลังอายุ 8 เดือนขึ้นไป
           ให้ขุดหัวมันขึ้นเพื่อจำหน่ายทันที  หลังจากนั้นให้ทำการป้องกันกำจัดโดยการทำความสะอาดแปลง  กำจัดเศษวัชพืช  ซากวัชพืช  ไถพรวนดินให้ลึกแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า  14  วันเพื่อตัดวงจรชีวิตเพลี้ยแป้ง  ก่อนปลูกมันสำปะหลังใหม่

ข.  การกำจัดเพลี้ยแป้งในแปลงมันสำปะหลังที่เริ่มมีการระบาดของเพลี้ยแป้งและการระบาดยังมีเพียงเล็กน้อย
    ให้ใช้สารฆ่าแมลงไทอะมีโทแซม  25%WG อัตราส่วน 2 กรัม  ร่วมกับ ไวท์ออยล์หรือนำยาจับใบชนิดเข้มข้น 40 ซี.ซี.  ผสมน้ำ 20 ลิตร  โดยนำไวท์ออยล์ตีให้เข้ากับน้ำก่อนที่จะผสมสารฆ่าแมลง  สามารถฉีดพ่นได้เนื้อที่ประมาณ 1-2 งาน  นอกจากกำจัดเพลี้ยแป้งโดยใช้สารเคมียังสามารถป้องกันเพลี้ยแป้งได้ต่อ เนื่อง  14 - 15 วัน

ค.  การทำให้ท่อนพันธุ์สะอาด  ปราศจากเพลี้ยแป้ง
    หลังจากสับต้นพันธุ์ให้ได้ขนาดที่จะใช้ปลูกแล้ว  ให้แช่ท่อนพันธุ์เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งโดยใช้สารฆ่าแมลง  ไทอะมีโทแซม 25%WG  อัตรส่วน  4  กรัม  ต่อน้ำ  20  ลิตร  แช่นานไม่น้อยกว่า  10  นาที  วิธีการแช่ท่อนพันธุ์ดังกล่าวจะกัดเพลี้ยแป้งที่อาจติดอยู่กับท่อนพันธุ์  และสามารถป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้  24 - 30 วัน

ง.  การติดตามเฝ้าระวังการระบาด
    เกษตรกร ผู้ผลูกมันสำปะหลังควรหมั่นตรวจตราแปลงปลูกของตน  หากมีเพลี้ยแป้งเกิดขึ้นจะได้ป้องกัน กำจัด ได้ทันเวลา  เพื่อมิให้ระบาดต่อไป

ที่มา http://www.nettathai.org/tapioca/39.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น