น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา


The greasy spot melanose, Mycosphaerella citri, an important disease of pomelo and other citrus โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง โรคที่สำคัญในส้มโอ พืชตระกูลส้มอื่นๆ และคำแนะนำในการป้องกันกำจัด

September 2nd, 2010
greasy-spot-mela3.jpg
      The pomelo farm I visited early this year at Mae Klong area, Pak Tho Subdistrict, Ratchaburi about 1.30 hours drive from Bangkok. It was a poor pomelo growing area where farmers do very little spray of fungicides and insecticides. Citrus plants in the leader of the village farm were badly affected by various pests. So, other farms nearby would probably be worse than him. Therefore many diseases and pests can be found including Phytopthora, scab and greasy spot melanose.

        The greasy spot melanose 
caused by the fungi Mycosphaerella citri Whiteside, syn. Cercospora citri-grisea F.E. Fisher while melanose casued byDiaporthe citri. Greasy melanose affected on various stages of leaves especially the young shoot leaves. The symptoms have been seen in all trees, with some badly affected trees showing stunt and almost die. Those twigs may die within some months. Spores are produced during wet periods and dispersed to young susceptible leaves and fruit by rain splash.        Chemical control: Generally this fungal disease can control by simple contact fungicides mancozeb, coppers (is also bacterialicide) and some systemic fungicides such as strobilurins. Qualiy copper products are such as copper sulfate (Cuprofix WG, Novofix Mz WG), copper hydroxide (Kocide, Funguran) while copper oxychloride, several seemed to be the common one with high pH when mixed in water which may not compatible with most of insecticides (generally low pH). Have to read and follow strictly the labels. Timing of chemical sprays for optimum disease control is in relation to local climatic conditions, seasonal bloom and shoot growth patterns and the mode of action of each spray material. Generally one or two sprays are recommends at early rainy season. But a few repeat sprays can be done if necessary. Avoid to use of copper fungicides in hot weather which damage young fruits. Fungicides are effective for only short periods when applied to rapidly expanding fruit or leaves. The fungicide sprays can control greasy spot (Mycosphaerella citri), melanose (Diaporthe citri) and scab (Elsinoe fawcettii, syn. Sphaceloma fawcettii) at the same time.
greasy-spot-mela1.jpggreasy-spot-mela2.jpgmelanose1.jpg
         สวนส้มโอที่ผู้เขียนได้ไปเยือนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในขณะที่สภาพอากาศยังแห้งแล้งก็แย่แล้ว ถ้าฝนมาคงจะอาการหนักขึ้นถ้าไม่หาทางป้องกัน อยู่ในเขตปากท่อ ราชบุรี ประมาณว่าขับรถจากกรุงเทพฯไปถึงนั่นราว ชั่วโมงครึ่ง เป็นสภาพสวนที่ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแลที่ถูกวิธี เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อยมาก จึงมีทั้งโรค แมลง และไรขาว โรคที่มีปัญหามากแต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากกรมวิชาการเกษตรที่ไปช่วยแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ได้แก่โคนเน่า หรือโรคไฟทอฟโทร่า ส่วนโรคที่เป็นหนักทั้งสวนได้แก่โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง จนต้นใกล้ตาย ใครจะใช้ทฤษฎีใดๆ ก็ตามในการทำสวนแต่ถ้าไม่เข้าใจปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่ลึกซึ้งพอก็จะประสบปัญหาแบบนี้ แทนที่ปลูกพืชครั้งเดียวเก็บผลได้นานนับ ปีแต่ต้นไม้กลับทรุดโทรมจนรั้งเอาไว้ไม่อยู่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าเสียดาย
 
          
โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Mycosphaerella citri Whiteside, syn. Cercospora citri-grisea F.E. Fisher อาการในส้มโอมีจุดเหลือง มีจุดนูนๆ ด้านใต้ใบ เมื่อแผลแห้งจะสากมือ บางครั้งจะมีสะเก็ดแผลเป็นรูปดาว แตกต่างจากโรคเมลาโนส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Diaporthe citri อาการมักมีจุดดำและใบเรียบค่อนข้างลื่นมือ โรคใบปื้นเหลืองที่พบในสวนดังกล่าวเป็นแทบทุกต้น ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต กิ่งบิดโค้ง ใบบิดเบี้ยว ซึ่งสามารถทำให้กิ่งตายได้ในไม่กี่เดือน เชื้อราในช่วงที่มึความชื้นสูงสามารถสร้างสปอร์และแพร่กระจายไปกับน้ำฝนไปสู่ส่วนอื่นๆ และใบอ่อนซึ่งอ่อนแอ การตัดกิ่งที่ตายส่วนที่เป็นโรคออกไม่เพียงพอในการหลีกเลี่ยงปัญหาโรคนี้
           
การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี มีความจำเป็น โดยเฉพาะช่วงกำลังจะแตกใบยอดอ่อน มีติดผลอ่อน ในสภาพที่มีความชื้นสูง สารที่แนะนำเช่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส แมนโคเซ็บ สารประกอบทองแดงซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่นโรคขี้กรากได้ด้วย หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม เช่น สะโตรบิรูรินส์ และอีกหลายชนิด ควรอ่านฉลากยาและใช้ตามคำแนะนำ ปกติมักจะพ่น อย่างน้อย 1-2 ครั้งในช่วงต้นฝนหรือพ่นซ้ำตามความเหมาะสม การใช้สารประกอบทองแดงควรเลี่ยงในช่วงที่อาการร้อนจัดเพราะอาจมีผลต่อผลอ่อน อย่างไรก็ตามสารประกอบทองแดงมีความสำคัญมากและใช้กันมากในสวนส้มจนขาดไม่ได้ เช่นสารคอปเปอร์ซัลเฟต หรือบอร์โดมิกซ์เจอร์สำเร็จรูป (Cuprofix, Novofix Mz) สารคอปเปอร์ไฮดร็อกไซด์ (Kocide, Funguran) สารคอปเปอร์อ็อกซี่คลอไรด์ (Copper oxychloride) สารชนิดหลังราคาค่อนข้างถูก ปัญหาค่าความเป็นด่างจะสูงกว่าสารชนิดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันต้องระวังการใช้การผสมที่อาจจะไม่เข้ากันกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดโดยเฉพาะสารฆ่าแมลงบางชนิด _______________________ขอขอบคุณคุณสุพัตรา อินทวิมลศรี กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ที่ให้คำแนะนำ

Root rot or gummosis and Foot rot caused by Phytophthora parasitica โรครากเน่า และโคนเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟท้อฟโธร่าโรคที่ร้ายแรงในส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว

July 30th, 2010
citrus-phytoph1.jpgcitrus-phytoph3.jpg
         Root rot or gummosis and Foot rot caused by Phytophthora parasiticaDastur, a soil borne organism.  Symptoms include rotted roots, cracked bark, accompanied by gumming, water-soaked, reddish-brown to black bark at the soil line, discolored tissue in the lower trunk, yellowing, sparse foliage and death of the tree.
         
โรครากเน่า และโคนเน่า  สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora parasitica Dastur  โรคนี้มีความสำคัญมากในส้ม และไม้ผลอีกหลายชนิด เนื่องจาดเชื้อราชนืดนี้เจริญเติบโตในดินอาการของพืชมักเกิดที่โคนต้น และระบบบราก ทำให้รากเน่า โคนต้นเปลือกปริแตก มีอาการยางไหลในสภาพที่อากาศชื้น เมื่อใช้มีดปาดที่เปลือกบริเวณที่เป็นโรคจะเห็นเป็นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ต้นส้มแสดงอาการใบเหลืองซีด ลู่ลง กิ่งบางกิ่งเริ่มแห้งตาย บริเวณเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าและโคนเน่า สามารถติดไปกับน้ำฝน ทำให้เกิดแผลเน่าฉ่ำน้ำที่ใบ และผล ทำให้ผลร่วงเป็นจำนวนมาก   
citrus-phytoph2.jpg
The affected foot after smeared by metalaxyl in pinkish-purple color. แผลที่โคนต้น ควรขูดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทา
ด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่นเมตาแลกซิล หรือฉีดเข้าต้นบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารฟอสฟอรัสแอซิด
citrus-phytop2-450.jpg
โรครากเน่า และโคนเน่า (Root rot and Foot rot) ที่เกิดบนใบและผล ปกติอาการมักเกิดที่โคนต้น ระบบบราก ต้นส้มแสดงอาการใบเหลืองซีด ลู่ลงเชื้อราสามารถติดไปกับน้ำฝนกระจายไปสู่ใบ ผลและส่วนต่างๆ ของส้ม ทำให้เกิดแผลเน่าฉ่ำน้ำที่ใบ แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อลุมลามมากขึ้นแผลมีสีน้ำตาลถึงดำ แห้งตาย ทำให้ใบร่วงเป็นจำนวนมาก   

Mango Anthracnose caused by a fungus, Colletotrichum gloeosporioides โรคแอนแทรคโนส สาเหตุจากเชื้อรา เป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดในมะม่วง

July 25th, 2010
anthracnose1.jpganthracnose2.jpganthracnose3.jpganthracnose4.jpg
           Anthracnose
 caused by the fungus Colletotrichum gloeosporioides, is the most wide-spread disease in mangoes. The varieties vary in susceptibility such as Nam Dok Mai is one of the most susceptible varity. Colletotrichum gloeosporioides causes anthracnose on fruits, and drop of flowers on young branches. Anthracnose always appears on leaves as square brown to black spots. The control program shood be applies at 2 weeks intervals before flower buds open and repeat for 3-4 spray rounds. Contact fungicides are usually recommended such as mancozeb, captan and coppers. The alternating or mixing with sytemic fungicides, Prochloraz, azoxystrobin, benomyl, carbendazim or others when disease pressure is high. The late fruiting season is also necessary to spray in some susceptible mango varieties such as heavy variety of the northern Thailand, Khieo morakot.
          
โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose) สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. เป็นโรคที่มีความสำคัญมากกับมะม่วงทุกพันธุ์ แต่มะม่วงพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความต้านทานต่อโรคแตกต่างกัน พันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ หากไม่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราอาการจะรุนแรงมาก บางครั้งจะไม่ได้ผลผลิตเลย อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ำและเปลี่ยนเป็นสีดำต่อไป บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวลงเล็กน้อยจนดึงให้ใบบิดเบี้ยว ใบแก่ขนาดของจุดจะมีขนาดคงที่ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดำ ในสภาพอากาศที่ มีความชื้นสูง จะมีสปอร์สีชมพูเกิดขึ้นตามแผลที่เป็นโรคการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส ควรทำในระยะที่มะม่วงกำลังจะแตกใบอ่อนและเมื่อมะม่วงจะแทงช่อดอก เกษตรกรควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส เช่นสารแมนโคเซ็บ แคปแทน สารพวกคอปเปอร์ อาจจะผสม หรือสลับกับสารประเภทดูดซึม เช่น Prochloraz, azoxystrobin, benomyl, carbendazim หรือสารดูดซึมอื่นๆ พ่นทุก10-14 วันประมาณ 2-3 ครั้ง มะม่วงที่ต้องการเก็บรักษา สารพวกคอปเปอร์ซึ่งไม่มีค่า MRLในยุโรปกำหนดไว้ จึงน่าจะเป็นทางเลือกใช้ได้ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวไว้นานหลังการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะพันธุ์เขียวมรกต ควรพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราในช่วงปลายฤดูปลูกด้วย_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3
 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

Late Blight in Potato caused by Phytophthora infestans โรคใบแห้ง หรือ โรคใบไหม้ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อราไฟท้อปโทร่า ที่มีความสำคัญที่สุดในมันฝรั่ง

July 24th, 2010
lateb1.jpglateb2.jpglateb3.jpgspraying.jpgmancozeb2.jpg
        Late blight is a fungal disease caused by Phytophthora infestans (Mont.) de Bary.  It attacks both tubers and foliage during any stage of crop development. The first symptoms of late blight in the field are small, light to dark green, circular to irregular-shaped 
water-soaked spots. These lesions usually appear first on the lower leaves. Effective control of these leaf diseases requires implementating an integrated disease management approach. Protectant fungicides especiallymancozeb should be used before development of disease in a field. If late blight is present in a field, a combination of protectant and systemic eradicant systemic fungicides should be used.
        
โรคใบแห้ง หรือ โรคใบไหม้ (Late Blight) เป็นโรคที่เกิดจากเฃื้อรา Phytophthora infestans (Mont.) de Bary มีความสำคัญที่สุดของมันฝรั่ง  อาการของโรคเกิด แผลที่ใบ ลำต้น และหัวมันฝรั่งที่อยู่ในดิน แผลเริ่มที่ใบเป็นจุดสีเขียวหม่นขอบเทาซึ่งลุกลามขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบบิดเบี้ยว ในช่วงที่อากาศเย็นชื้นจะเห็นสปอร์สีขาวตามขอบแผลที่ใต้ใบ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งอย่างรวดเร็ว หัวมันฝรั่งที่ติดเชื้อในดินจะเน่าเละ หรือมีขนาดเล็กลง การป้องกันกำจัดความใช้หลายๆ วิธีร่วมกันที่เรียกว่าการป้องกันกำจัดแลลวิธีผสมผสาน การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัสเช่นแมนโคเซ็บเป็นที่นิยมอย่างกว้างเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค อย่างไรก็ตามเมื่อสภาวะของสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาด การผสมสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึมควรได้รับการพิจารณา หรือใช้สลับกัน การใช้สารดูดซึมเท่าที่จำเป็นมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราสร้างความต้านทานต่อสารดูดซึมที่ใช้ ส่วนสารแมนโคเซ็บยังไม่พบว่าเชื้อราสร้างความต้านต่อสารนี้
_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

The use of mancozeb for the control of fungal diseases การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ

July 21st, 2010
mancozeb1.jpgmancozeb2.jpg
The use of mancozeb
       Mancozeb 
is non-systemic fungicide, Organic–Dithiocarbamate group. Foliar protection of many fruits, vegetables, nuts and field crops against a wide spectrum of fungal diseases including potato blight, leaf spots, scab on apples and pears, anthracnose and rust. For seed treatment of rice, cotton, potatoes, corn, safflower, sorghum, peanuts, tomatoes, flax, and cereal grains.Mancozeb does not induce in fungi and is therefore an essential componentof alternating spray program or of mixed formulations with systemic and other fungicides.Polyvalence: use on more than 70 crops for the control of 400 fungal diseases of which mildews, excoriosis, black-rot, red fire, alternaria, etc. Multi-site action: making it an ideal partner for recent mono-site molecules (mixture). Nutrient: correction of crop deficiencies in  manganese and zinc.The worldwide use mancozeb, without danger to the environment. Because mancozeb break down rapidly in the environment. It is not harmful to beneficial insects and natural pollinators. Hence it is a useful product in integrated pest management programs. Mancozeb is a contact fungicide which remains on the treated surface of the plant.   
การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ (
Mancozeb)       
        แมนโคเซ็บ คือสารป้องกันกำจัดเชื้อราแบบสัมผัสที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางมานานแล้ว ชื่อ
การค้าที่รู้จักกัน เช่น เพนโคเซบ (Penncozeb), วันโดเซ็บ (Vondozeb), ยูเทน (Uthane), ไดเทนเอ็ม 45 (Dithane M-45), นิวเทนเอ็ม 80 (Newthane M 80), แมนเซท (Manzate) ฯลฯ ปัจจุบันสารแมนโคเซ็บจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน มีการขึ้นทะเบียนและใช้กันมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรป (EU) อเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา เอเชีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย ประโยชน์ สามารถใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้มากกว่า 100 ชนิด ในกว่า 100 พืช สิ่งที่น่ารู้สำหรับสารแมนโคเซ็บกล่าวคือ
       - สารนี้ไม่ใช่สารที่คงทนเมื่อมีการขนส่งและการเก็บรักษาโดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนและชื้น สารออกฤทธิ์จะเสื่อมสลายไปทีละน้อยตามระยะเวลาในการเก็บรักษา โดยเฉพาะเมื่อเปิดภุงหรือภาชนะบรรจุ เพราะสารมักดูดความชื้นและความชื้นนี่เองที่มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการสลายตัว บริษัทผู้ผลิตจึงมักมีการรับรองคุณภาพในการเก็บรักษาไว้ไม่นานเกิน  2 ปี ความชื้นในสารที่ไม่ควรมีสูงกว่า 2% เนื่องจากความชื้นจะเร่งปฎิกิริยาให้เกิดการสลายตัวให้เร็วขึ้น สารที่ไม่ได้มาตรฐานมักจะมีความชื้นสะสมไว้สูงกว่าที่มีมาตรฐานกำหนด เช่นสูงถึง 2.5-4 %  การเลือกซื้อจึงควรซื้อสารที่บรรจุใหม่ๆ บริษัทผู้ผลิตที่มีมาตรฐานมักจะไม่ผลิตเพื่อรักษาไว้รอการจำหน่ายนานหลายเดือนหรือเป็นปี แต่จะผลิตใหม่เมื่มีคำสั่งซื้อเข้ามา และการผลิตก็จะให้มีเปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์ไว้สูงกว่าที่กำหนดไว้เล็กน้อย เช่นแมนโคเซ็บ 80%WP มักจะผลิตไว้ที่ 82-32%WP เพื่อที่เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์หลังจากเก็บรักษาไว้ระยะหนึ่งจะได้ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อให้ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชได้ผลดี
        - 
การละลายน้ำที่ดี ควรมีสารที่ช่วยให้เนื้อสารแขวนลอยในน้ำอยู่ได้นาน (High susspensibilty) ไม่ตกตะกอนนอนก้นเร็วเกินไปซึ่งสังเกตได้หลังจากพ่นสารเสร็จแล้วมักจะมีการตะกอนอยู่ก้นถังมากสำหรับสารที่มีมาตรฐานต่ำ  
        - ขนาด
ของเนื้อสาร (Particle sizes) เมื่อละลายน้ำแล้วควรจะมีขนาดเล็ก 2-6 ไมครอน ซึ่งจะลดปัญหาการอุดตันหัวฉีดขณะพ่นสาร สารแมนโคเซ็บที่มีคุณภาพต่ำมักมีขนาดของเนื้อสารใหญ่กว่านี้จำนวนมาก
        - แมน
โคเซ็บเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทสัมผัส (Contact fungicides) นับตั้งแต่มีการใช้มานานกว่า 30 ปี ยังไม่เคยมีรายเชื้อราสร้างความต้านทานต่อสารนี้ จึงมีช่วยลด หรือชะลอปัญหาการดื้อยาของเชื้อราต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมเมื่อมีการใช้ผสมกับสารดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีส่วนช่วยเสริมฤทธิ์กัน ช่วยทำให้ป้องกันกำจัดเชื้อราได้กว้างขวางมากขึ้น หรืออาจจะใช้สลับกันกับสารออกฤทธิ์ชนิดดูดซึมก็ได้ ปกติสารดูดซึมมักจะใช้เมื่อสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคพืช เช่นฝนตก ความชื้นสูง และสารดูดซึมมักแนะนำให้ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่นใช้ไม่เกิน 3-4 ครั้งต่อฤดูปลูกพืชเพื่อลดปัญหาการดื้อยา ส่วนสารแมนโคเซ็บสามารถใช้ได้ตลอดแต่ไม่เกิน 16 ครั้งต่อฤดูปลูกโดยเฉพาะในกล้วยที่ปลูกเป็นอุตสาหกรรม
       - 
สารแมนโคเซ็บเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่กว้างขวาง (Broad spectrum) มีการใช้ในพืชต่างๆ อย่างกว้างขวาง ได้แก่ ไม้ผล โดยเฉพาะมะม่วง ส้ม ทุเรียน ในมันฝรั่ง มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ พืชตระกูลกะหล่ำ คะน้า ผักกาด บวบ ฟัก แฟง แตงกวา หอม กระเทียม เป็นต้น
       - 
อัตราการใช้ ปกติใช้อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุก 7-14 แต่ถ้าพบว่าเริ่มมีสัญญาณการระบาดของโรคพืช ควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้ผสมกับสารดูดซึม บางครั้งก็นิยมใช้สลับกันก็ได้
       - 
สารแมนโคเซ็บสามารถใช้ผสมร่วมกับสารฆ่าแมลง สารฆ่าไรศัตรูพืช หรือปุ๋ยทางใบได้แทบทุกชนิด (Compatible with other pesticides) แต่ไม่ควรผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง
       - ข้อควรระวัง 
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดมีอันตรายต่อผู้ใช้ได้ หากไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดขณะปฎิบัติงาน เช่นเดียวกันกับสารแมนโคเซ็บ
_______________________
แบ่งปันข้อมูลจาก: หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3
 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย,2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่ เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น