โรคใบด่างของพริก
(Pepper mosaic)
(Pepper mosaic)
สาเหตุ: ไวรัสใบด่างแตง (Cucumber mosaic virus, CMV)
ลักษณะอาการ: ใบพริกด่างหรือมีจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ ใบเสียรูปบิดเบี้ยวลดขนาด
ใบเรียวเล็กเป็นเส้นเพราะเนื้อใบ และเส้นใบเจริญไม่สัมพันธ์กัน
ใบร่วงบางครั้งฝักพริกเล็ก หรือด่าง ผิวขรุขระ ต้นแคระแกร็น
ใบเรียวเล็กเป็นเส้นเพราะเนื้อใบ และเส้นใบเจริญไม่สัมพันธ์กัน
ใบร่วงบางครั้งฝักพริกเล็ก หรือด่าง ผิวขรุขระ ต้นแคระแกร็น
การแพร่ระบาด: เพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะนำโรคและถ่ายทอดได้ด้วยวิธีกล
พืชอาศัยกว้าง ไม้ดอก เช่น หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน
พืชตระกูลแตง เช่น แตงไทย แตงกวา บวบ และมะระ
พืชผัก เช่น ถั่วแขก ถั่วพุ่ม ถั่วลันเตา งา พริก ยาสูบ และ
มะเขือเทศ
พืชอาศัยกว้าง ไม้ดอก เช่น หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน
พืชตระกูลแตง เช่น แตงไทย แตงกวา บวบ และมะระ
พืชผัก เช่น ถั่วแขก ถั่วพุ่ม ถั่วลันเตา งา พริก ยาสูบ และ
มะเขือเทศ
การป้องกันกำจัด
- เสริมความแข็งแรงให้พืช คลิกที่นี่
- เลือกกล้าพริกที่แข็งแรงปลูก
- หมั่นตรวจแปลง พบต้นแสดงอาการถอนออกฝังลึกนอกแปลง
- กำจัดวัชพืชในแปลง และบริเวณรอบแปลงไม่ให้เป็นที่หลบหรืออาศัยของ
แมลงพาหะนำโรค - ใช้แผ่นพลาสติกสีเงินคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง และติดตั้งกับดักกาวเหนียว
กระจายทั่วแปลง - ควบคุมแมลงพาหะด้วยสารสกัดสมุนไพรรวม + สารจับใบ พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม
ตอนเย็นทุก 5 - 7 วัน - หยุดการระบาดด้วยคาร์โบซัลแฟน อิมิดาคลอพริด หรือ โฟซาโลน
พริกและสถานที่พบโรค
พริกหวาน พริกหนุ่ม พริกขี้หนู และพริกเดือยไก่
- อ.เมือง และอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
- อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น