เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับพืช Good Agricultural Practice : GAP 1. GAP ย่อมาจาก Good Agricultural Practice หรือ เกษตรดีที่เหมาะสม คือ แนวทางในการทำเกษตรกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน กระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 2. ทำไมต้องทำ GAP หรือเกษตรดีที่เหมาะสม ? 2.1 เพื่อได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันและจำหน่ายได้ราคาสูง 2.2 เพื่อสร้างเสริมสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary) ในการผลิตสินค้าเกษตร 2.3 เพื่อแก้ไขการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดสารพิษตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และเกิดมลพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับรองแปลง ตามระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืช 3.1 คุณสมบัติของเกษตรกร 3.1.1 ต้องเป็นเจ้าของ หรือ ผู้มีสิทธิ์ในการดำเนินการผลิต 3.1.2 มีสัญชาติไทย และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ 3.1.3 เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจกระบวนการผลิตพืชตามระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืช 3.1.4 มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เห็นด้วยกับระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืช และ พร้อมที่จะ ปฏิบัติตามคำแนะนำ 3.1.5 ต้องผ่านการอบรม หรือได้รับคำแนะนำการผลิตพืชตามระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืช 3.2 คุณสมบัติแปลงที่ขอรับการรับรอง 3.2.1 ต้องเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสม ไม่มีวัตถุอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้าง หรือปนเปื้อนในผลผลิต มีน้ำ ใช้พอเพียง และได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน 3.2.2 เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย |
น้ำหมักชีวภาพ
แนะนำผู้ทำบล็อก
ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
เกษตรดีที่เหมาะสม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น