น้ำหมักชีวภาพ

แนะนำผู้ทำบล็อก

ผลงานปี 2555 ตำแหน่งพรีเซนเตอร์คณะเทคโนโลยี 2556

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะอาการของโรค (symptom)

ลักษณะอาการของโรค คือ การแสดงออกของปฏิกริยาทางสรีรวิทยาของพืชที่สนองตอบต่อกิจกรรมอันเป็นพิษภัย ซึ่งเกิดจากการกระทำของตัวการที่ก่อให้เกิดโรคเมื่อพืชเป็นโรคย่อมมีลักษณะ อาการเกิดขึ้นด้วยเสมอ สำหรับโรคพืชโรคหนึ่ง ลักษณะอาการของโรคจะแสดงออกมาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เรียกว่า syndrome ซึ่งการจดจำ syndrome จะช่วยได้เป็นอย่างมากในการวินิจฉัยโรคพืชในภาคสนาม

สัญลักษณ์ของโรค (sign)

สัญลักษณ์ของโรค คือ ชิ้นส่วนของเชื้อโรค (pathogen) ซึ่งอาจจะเป็นโครงสร้างทางร่างกายหรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ (vegetative or reproductive structure) ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ข้างบนหรือใกล้ ๆ กับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคโดยรวมถึงของเหลวต่าง ๆ ที่ไหลออกมาจากส่วนของพืชที่เป็นโรคด้วย

ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงรูปร่างของเชื้อสาเหตุที่ก่อให้ เกิดโรค โดยเฉพาะโครงสร้างหน่วยสืบพันธุ์(fructification) ของเชื้อราที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เนื่องจากโรคบางโรคอาจไม่พบลักษณะอาการที่ผิดปกติเลยแต่พบสัญลักษณ์ของโรค เช่น เมื่อต้นไม้เกิดการผุสลายของแก่นไม้ (decay of heartwood) เมื่อมองจากภายนอกจะไม่พบลักษณะอาการผิดปกติของต้นไม้ แต่จะพบดอกเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายเกือกม้าหรือคล้ายหิ้ง ที่เหนียวและแข็งเกาะอยู่ที่นอกลำต้น ซึ่งนี่ก็คือเชื้อราสาเหตุของโรคนั่นเอง และดอกเห็ดที่พบก็คือสัญลักษณ์ของโรค

สัญลักษณ์ของโรคที่มักพบเสมอ ได้แก่

hypha หรือเส้นใย คือ โครงสร้างของราที่มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายเส้นด้าย และแตกแขนงซึ่งถ้าเส้นใยมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มจะเรียกว่า mycelium

rhizomorph คือ กลุ่มของเส้นใยของราหลาย ๆ เส้นมารวมกันทางด้านข้าง ทำให้เกิดเป็นเส้นขนาดใหญ่ขึ้นสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า มีรูปร่างคล้ายกับรากของต้นไม้ และมีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะสำคัญของราใน class Basidiomycetes

spore คือ หน่วยที่ทำหน้าที่สืบพันธุ์ของรา มีขนาดเล็กมาก มีรูปร่างและสีแตกต่างกันไปไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าถ้าอยู่เดี่ยว ๆ แต่ถ้าอยู่เป็นกลุ่มจะสังเกตเห็นเป็นผงฝุ่นที่มีสีต่างๆ เกิดอยู่บนรอยแผล

fruiting body หรือ fructification คือ โครงสร้างอย่างหนึ่งของรา ซึ่งภายในมี spore บรรจุอยู่

higher plant parasite เช่น กาฝากที่เจริญอยู่บนกิ่งของต้นไม้ และฝอยทองที่เจริญคลุมหรือพันอยู่กับกิ่ง ก้าน ใบ ซึ่งทั้งสองชนิดนั้นจะขึ้นเบียดเบียนต้นพืช

exudate หรือ exudation คือ ของเหลวที่ไหลออกมาจากเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ของเหลวที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโรคพืช ได้แก่ bacterial exudate , slime flux, gummosis และ resinosis ส่วนของเหลวที่เป็นน้ำ หรือเป็น cell sap ที่ออกมาทางปลายใบของพืชเมื่อเกิด guttation หรือเมื่อตัดปลายยอด กิ่ง ก้าน นั้นไม่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโรค แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการ สรีรวิทยาที่เป็นปกติของพืช

ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการของโรค สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง

- morphological symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากภายนอกของต้นพืชอาจจะเกิดที่ ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืชหรือเกิดกับทั้งต้น และอาจจะใช้วิธีดมกลิ่น ชิมรส หรือสัมผัสเพื่อช่วยตรวจหาอาการของโรคด้วย

- histological symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคจึงจะทราบ การศึกษาลักษณะอาการผิดปกติในระดับเนื้อเยื่อ เรียกว่า pathological anatomy ซึ่งจะไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดในวิชานี้

morphological symptom

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

- necrotic symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมสลายของ protoplast ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือพืชทั้งต้นตายในระยะต่อมา ถ้าลักษณะอาการของโรคแสดงออกให้เห็นก่อนที่ protoplast จะตายเรียกว่า plesionecrotic (nearly dead) symptom ถ้าลักษณะอาการของโรคแสดงให้เห็นหลังจาก protoplast ตายแล้ว เรียกว่า holonecrotic (entirely dead) symptom

อาการที่จัดเป็น plesionecrosis มีดังนี้

1. yellowing ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืช ซึ่งตามปกติมีสีเขียว เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง เนื่องมาจากการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll breakdown) 

ภาพที่ 5 ลักษณะอาการของใบปาล์มที่เป็น yellowing
ที่มา : http://www.ics.uci.edu/~eppstein/pix/palm/Yellowing.html

2. wilting ลักษณะอาการเหี่ยวของต้นพืชหรือบางส่วนของต้นพืชอันเนื่องมาจากการสูญเสีย ความเต่งของเซลล์ที่ใบหรือที่ลำต้น อาการเหี่ยวของพืชที่เกิดเนื่องจากการขาดน้ำในดินจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ถ้าพืชนั้นได้รับน้ำก่อนที่จะถึงจุดเหี่ยวถาวร (permanent wilting point) แต่อาการเหี่ยวของพืชอันเนื่องมาจากเชื้อโรคเข้าทำลายต่อระบบลำเลียงน้ำ จะไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้อีก

ภาพที่ 6 ลักษณะอาการของต้นไม้ที่เกิด wilting
ที่มา : http://www.agnr.umd.edu/users/hgic/diagn/needle_s/needles_whole1.html

3. hydrolysis ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืชบริเวณที่เป็นโรคเกิดเป็นรอยช้ำหรือฉ่ำน้ำ เนื่องจากช่องว่างระหว่างเซลล์ของเนื้อเยื่อเต็มไปด้วยของเหลวที่ไหลออกมา จากภายในเซลล์ที่ cell membrane ถูกทำลายไป อาการ hydrosis มักเกิดขึ้นก่อนการเกิด holonecrotic symptom พบในโรค rot , spot และ blight

อาการที่จัดเป็น holonecrosis

อาการนี้จะเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชก็ได้ เป็นลักษณะอาการที่เป็นที่คุ้นเคยเพราะเห็นเด่นชัด เนื้อเยื่อที่เป็นโรคมักจะเปลี่ยนสีไปเป็นสีน้ำตาล holonecrotic symptom แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยขึ้นกับลักษณะอาการของโรคว่าเกิดกับอวัยวะส่วนใด

กลุ่มที่ 1 เกิดกับอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บอาหาร (storage organ) เช่น ผล เมล็ด bulb, corm, tuber และราก
มีลักษณะอาการดังนี้

1. rot ลักษณะอาการเริ่มแรกคือ เกิด hydrosis ขึ้นที่ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เก็บอาหาร ต่อมาเนื้อเยื่อส่วนนั้นจะอ่อนนุ่มลง และมีลักษณะแฉะๆ เพราะมีของเหลวที่เรียกว่า leak ไหลออกมา ผลสุดท้ายเนื้อเยื่อก็จะตายไป 

ภาพที่ 7 ลักษณะอาการของโรค root rot
ที่มา : http://www.plantpath.wisc.edu/wivegdis/images/vdu%20pea%20root%20rot.jpg

2. mummification เป็นลักษณะอาการเน่าที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อที่อ่อนนิ่มโดยเฉพาะที่ผล แต่ก่อนการเน่าจะไม่มี hydrosis เกิดขึ้น เนื้อเยื่อในบรเวณนั้นจะเกิดการสูญเสียของน้ำออกไปจากเซลล์ของผลอย่างรวด เร็ว ทำให้ผลแห้งเหี่ยวย่น และเหนียวแข็ง

กลุ่มที่ 2 เกิดกับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นสีเขียว (green plant tissue) มีลักษณะ อาการดังต่อไปนี้
1. damping – off หรือโรคเน่าคอดิน ลักษณะอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็วและโค่นล้มลงของต้นกล้า อันเนื่องมาจากการตายของเซลล์บริเวณลำต้นซึ่งอยู่ใกล้กับผิวดินเชื้อโรคอาจ เข้าทำลายเมล็ดหรือส่วนใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำให้ต้นกล้าไม่งอกขึ้นเหนือดิน ลักษณะอาการนี้มีชื่อเรียกว่า pre - emergence damping – off 

ภาพที่ 8 โรคเน่าคอดิน (damping-off)
ที่มา : http://www.tropicanursery.com/adenium/problems.htm

2. spot ลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อบนใบพืชและบนผลของพืชเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา โดยมีขนาดหรือมีขอบเขตจำกัดรูปร่างของแผลค่อนข้างกลมหรือเป็นเหลี่ยมและบาง ครั้งพบว่าตรงขอบของรอยแผลมีสีม่วงหรือสีเข้มอื่น ๆ เกิดล้อมรอบ

ภาพที่ 9 โรคใบจุด (leaf spot)
ที่มา : http://www.caf.wvu.edu/kearneysville/disease_descriptions/omfabrea.html

3. shot - hole คือลักษณะอาการที่เหมือน spot พบบนใบพืช แต่เนื้อเยื่อส่วนที่ตายจะแตกหลุดร่วงออกจากรอยแผลในระยะต่อมา ทำให้เห็นเป็นรูกลวงอยู่บนผิวใบ

4. fleck (speck) คือลักษณะอาการของโรคที่เหมือนกับ spot แต่แผลมีขนาดเล็กมาก

5. blotch คือลักษณะอาการของโรค spot ที่บนรอยแผลมีเส้นใยสีดำของราปรากฏอยู่

6. streak คือลักษณะอาการตายของเซลล์แบบเป็นรอยขีด ที่มีความยาวจำกัด เกิดบนลำต้นหรือบนเส้น vein ของใบพบในพืชตระกูลหญ้า

7. stripe คือลักษณะอาการตายของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเส้น vein ของใบพบในพืชตระกูลหญ้า ซึ่งอาการแบบ streak และ stripe อาจจะเกิดขึ้นร่วมกันและมีแบบแผนที่ไม่แน่นอน เรียกว่า net necrosis

8. blight คือลักษณะอาการตายอย่างรวดเร็วของใบทั้งใบ หรือเพียงบางส่วนของใบรวมทั้งเส้นใบ (vein) ด้วย โดยบริเวณเซลล์ที่ตายนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและลุกลามออกไปไม่มีขอบเขต จำกัด อาการใบจุด (leaf spot) ที่จุดแต่ละจุดเกิดใกล้ ๆ กัน แล้วรอยแผลขยายออกมาชนกัน กลายเป็นรอยแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้น ไม่เรียกว่า เป็นอาการ blight เนื่องจากอาการ blight ต้องเกิดจากเชื้อโรคเข้าทำลายใบที่จุดเดียวแล้วเนื้อเยื่อค่อย ๆ ตายขยายเป็นวงกว้างออกไป

9. scorch คือลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกับ blight แต่การตายของเนื้อเยื่อไม่มีแบบแผนที่แน่นอน เกิดระหว่างเส้นใบและตามขอบใบ

10. firing คือลักษณะอาการที่ใบเกิดการเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วและตายลงทั้งใบ ซึ่งความจริงแล้วเชื้อโรคไม่ได้เข้าทำลายที่ใบ แต่อาการที่ปรากฏบนใบมีผลมาจากการเน่าของรากและโรคเหี่ยว (wilting) ที่เกิดจากเชื้อโรค

11. scald คือลักษณะอาการที่เซลล์ผิวและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เซลล์ผิวของผล หรือบางครั้งของใบเปลี่ยนเป็นสีขาวซีด

12. blast คือลักษณะอา การตายอย่างรวดเร็วของตาหรือช่อดอกที่ยังอ่อนอยู่

13. shelling คือลักษณะอาก ารที่ผลซึ่งยังอ่อนอยู่หลุดร่วงไปจากขั้วเนื่องจากมีการตายของเซลล์เกิดขึ้น อย่างกว้างขวางในบริเวณขั้วของผล

14. anthracnose คือลักษณะอาก ารที่เนื้อเยื่อของใบ ผล หรือกิ่ง เกิดเป็นจุดช้ำสีน้ำตาล จุดแผลนี้จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นรอยรูปวงรีหรือวงกลมสีดำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มักจะเกิดจากราใน class Deuteromycetes (imperfect fungi) พวกที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีชื่อว่า conidium ภายในโครงสร้างที่ชื่อ acervulus ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดสีดำขนาดเล็กมากบนรอยแผล ถ้าอากาศชื้นที่บนตุ่มสีดำจะมีเมือกสีส้มอ่อนหรือสีครีมเยิ้มออกมาคล้ายหยด น้ำเมือกสีส้มอ่อนหรือสีครีม คือกลุ่มสปอร์ของราที่ดันพ้น acervulus ขึ้นมา

ภาพที่ 10 โรคแอนแทรกโนส (anthracnose)
ที่มา : http://www.oldhouseweb.com/gardening/garden/ 01701176. shtml

15. rust คือลักษณะอาการของโรคที่เกิดได้ทั้งใบ กิ่ง ลำต้น และผล โดยด้านล่างของใบจะเกิดเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลปนแดงคล้ายสีสนิมเหล็ก นูนขึ้นมากจากผิว กระจายอยู่ทั่วไป รอยนูนนี้เกิดขึ้นจากเซลล์ผิวของพืชถูกดันขึ้นมาจนแตกโดยราที่เจริญอยู่ข้าง ใต้ เผยให้เห็นสปอร์สีน้ำตาลแดง เนื้อเยื่อของใบทางด้านบนที่อยู่ตรงกับรอยนูนจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง ตายเป็นสีน้ำตาลในที่สุด สาเหตุของโรคเกิดจากราที่อยู่ใน Order Uredinales C lass B asidiomyc etes

ภาพที่ 11 โรคราสนิม บนใบถั่วเหลือง (soybean rust)
ที่มา : http://www.planthealth.info/rust/rust.htm

16. powdery mildew คือลักษณะอาการของโรคซึ่งเกิดกับใบที่เจริญเต็มที่แลวจะเห็นผลสีขาวหรือสี เทาของราเกิดขึ้นที่ผิวใบทางด้านบนหรือด้านล่างเป็นหย่อม ๆ ต่อมาเนื้อเยื่อบริเวณที่มีราเจริญปกคลุมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วแห้งตายเป็นสีน้ำตาล ถ้าโรคเกิดกับใบอ่อนจะเห็นสีขาวปกคลุมทั้งใบ ในไม่ช้าใบจะมีลักษณะหงิกงอ และตาย ถ้าโรคเกิดกับกิ่งอ่อน ๆ ตาและดอก เส้นใยสีขาวที่แผ่ขยายปกคลุมจะทำให้ยอด กิ่งอ่อนและตาไม่เจริญ ดอกที่ถูกทำลายจะมีสีซีด แคระแกรน และแห้งไปในที่สุด




ภาพที่ 12 โรคราแป้งขาวบนใบฟักทอง (powdery mildew)
ที่มา : http://hflp.sdstate.edu/Pestalrt/alert908.htm 

กลุ่มที่ 3 เกิดกับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นเนื้อไม้ (woody tissue) มีลักษณะอาการดังนี้

1. die-back (stag-head) คือลักษณะอาการตายของพืชที่เริ่มจากปลายยอด ปลายกิ่ง หรือปลายก้าน แล้วลุกลามลงมายังส่วนล่างของพืช มักจะเกิดขึ้นระหว่างที่ต้นไม้อยู่ในระยะพักตัว (dormancy) หรือภายหลังจากระยะพักตัวใหม่ ๆ


ภาพที่ 13 โรค die-back
ที่มา : http://fusion.ag.ohio-state.edu/news/story.asp?storyid=675

2. canker คือลักษณะอาการที่เปลือกและเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ใต้เปลือก ในส่วนของลำต้น กิ่ง หรือราก เกิดการตาย โดยการตายของเนื้อเยื่อจะถูกจำกัดด้วย callus ซึ่งสร้างขึ้นมาจากเนื้อเยื่อส่วนที่ยังดีรอบ ๆ รอยแผลนั้น 

ภาพที่ 14 โรค canker ที่เกิดจากเชื้อ Nectria sp.
ที่มา : http://fhpr8.srs.fs.fed.us/idotis/diseases/nectria.html

3. bleeding คือลักษณะอาการที่มีของเหลวไหลออกมาจากเนื้อไม้ส่วนที่เป็นโรค โดยที่ของเหลวนี้จะต้องไม่ใช่ยางไม้ (gum หรือ resin) ในต้นไม้เนื้อแข็ง (hardwood tree) ถ้าของเหลวที่ไหลออกมาเป็น gum และมีปริมาณมากผิดปกติ จะเรียกว่า gummosis ในต้นไม้พวก conifer ถ้าของเหลวเป็น resin ที่ไหลออกมามากมาย จะเรียกว่าเกิด resinosis

2. atrophic หรือ hypoplastic symptom คือลักษณะอาการที่พืชหรืออวัยวะของพืชไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ไม้ ทำให้พืชมีขนาดเล็กลง และอาจทำให้สีของส่วนต่าง ๆ จางลงด้วย ลักษณะอาการของโรคที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่

1. dwarfing คือลักษณะอาการที่พืชมีขนาดของส่วนต่าง ๆ เล็กกว่าปกติหรือพืชเกิดการแคระแกรน

2. rosetting คือลักษณะอาการที่ส่วนปล้องของพืชไม่ยืดยาวออกไป ทำให้ใบที่เกิดขึ้นตามข้ออยู่รวมกันเป็นกระจุกเหมือนกับกลีบกุหลาบ

ภาพที่ 15 โรค resetting
ที่มา : http://oregonstate.edu/dept/nursery-weeds/feature_
articles/post_herbicides/postemergence_herbicides.html

3. albication คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของพืชเป็นสีขาวทั้งหมดเนื่องจากการไม่สร้างสีเลยของเซลล์

4. chlorosis คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของต้นพืชซึ่งตามปกติแล้วเป็นเขียวกลับเกิดเป็น สีเหลือง ทั้งนี้เพราะ chlorophyll เจริญไม่เต็มที่

5. mosaic คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อของใบพืชเกิดเป็นรอยสีเขียวสลับสีเหลือง หรือสีเขียวสลับสีขาว

6. suppression คือลักษณะอาการที่พืชไม่สามารถสร้างอวัยวะของพืชในที่ที่ควรจะเกิดได้

7. etiolation คือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับต้นพืชที่ถูกเก็บไว้ในที่มืด เป็นอาการร่วมของ dwarfing , chlorosis และการผอมลีบของทุก ๆ ส่วนของพืช

3. hypertrophic หรือ hyperplastic symptom คือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเจริญที่มากกว่าปกติของพืช ทั้งในด้านขนาดและสี หรือเป็นอาการที่อวัยวะของพืชถูกสร้างขึ้นมาเร็วกว่าปกติ อาการประเภทนี้แบ่งออกเป็น4 กลุ่ม คือ

3. 1 gigantism คืออาการที่เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือต้นพืชทั้งต้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติแบ่งย่อยเป็น gigantism ในส่วนของใบและผล มีลักษณะอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. curl คือลักษณะอาการที่ส่วนยอดของพืชโค้งงอลง หรือการม้วนของใบพืช เนื่องจากมีการเจริญอย่างมากผิดปกติเกิดขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้าน เดียวของอวัยวะส่วนนั้น

2. savoying คือลักษณะอาการที่ใบขมวดย่น หรือเป็นลูกคลื่นเนื่องจาก อัตราการเจริญที่ไม่เท่ากันของส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกัน โดยส่วนที่เป็นเนื้อใบมีการเจริญมากเกินไปในขณะที่เส้นใบและขอบใบมีการเจริญ ที่น้อยกว่าปกติดังนั้นอาการนี้จึงเป็นทั้ง hyperplastic และ hypoplastic symptom ในเวลาเดียวกัน

3. scab คือลักษณะอาการที่เซลล์ผิวและเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้เซลล์ผิวของใบ ผล ลำต้น หรือหัว มีขนาดใหญ่มากผิดปกติทำให้บริเวณที่เป็นแผลมีลักษณะนูนขึ้นมาเป็นสะเก็ดขรุ ขระเห็นได้ชัดเจน เกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมของ suberin ที่ผนังเซลล์ 

ภาพที่ 16 Apple scab
ที่มา : http://www.apsnet.org/education/LessonsPlantPath/AppleScab/Top.htm

4. intumescence คือ ลักษณะอาการบวมพองเฉพาะที่ของเซลล์ผิว (epidermis) และเซลล์ที่อยู่ใต้เซลล์ผิว (subepidermis)เนื่องจากมีการสะสมของน้ำภายในเซลล์มากผิดปกติ

gigantism ของลำต้นและราก

1. sarcody คือลักษณะอาการบวมพองของลำต้นเหนือรอยควั่น เนื่องจากมีการสะสมของอาหารที่ปรุงแล้วในบริเวณนั้นอย่างมากมายผิดปกติ

2. tumefaction คือลักษณะอาการบวมพองที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ อาการแบบนี้พบเป็นประจำที่ราก คือเป็นปุ่มปม (gall , knot , clubbed root)

3. fasciculation คือลักษณะอาการที่รากฝอย หรือยอดอ่อนของต้นแตกออกเป็นกระจุกรอบ ๆ จุดเดียวกันถ้าเกิดที่รากเรียกว่า hairy root ถ้าเกิดที่ยอดของต้น เรียกว่า witches' broom

4. fasciation คือลักษณะอาการที่ส่วนของพืชซึ่งปกติมีรูปร่างทรงกระบอก เช่น ลำต้น เปลี่ยนเป็นมีรูปร่างแบนและแผ่กว้างออกเหมือนกับมีการเชื่อมติดกันของลำต้น หลาย ๆ ต้น

5. proliferation คือลักษณะอาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้เจริญยืดยาวออกไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ถึงระยะที่ควรจะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว

6. callus คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่เป็นแผลของพืชมีการเจริญมากกว่าปกติ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาปิดรอยแผลจะพบ callus รอบ ๆ แผล ซึ่ง callus นี้จะช่วยป้องกันการแพร่ขยายของเชื้อโรคไปยังเนื้อเยื่อส่วนที่ดีที่อยู่ ใกล้เคียง 

ภาพที่ 17 ลักษณะของ callus ที่เกิดร่วมกับ canker ในต้นแอปเปิ้ล
ที่มา : http://www.apsnet.org/education/IllustratedGlossary/PhotosA-D/callus.htm

3.2 hyperchromic symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการสร้างสีมากเกินไป แบ่งเป็น

1. virescence คือลักษณะอาการที่มีการสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นในเนื้อเยื่อที่ตามปกติแล้วไม่มี

2. anthocyanescence คือลักษณะอาการที่มีสีม่วงเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่ควรจะมีสี เขียว เนื่องจากมีการสร้าง anthocyanin pigment มากเกินไป

3. bronzing คือลักษณะอาการที่มีสีคล้ายสีของทองแดงเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อพืช

ภาพที่ 18 ลักษณะอาการ bronzing ที่เกิดกับผลกล้วย
ที่มา : http://www.dpi.qld.gov.au/horticulture/4976.html

3.3 Metaplastic symptom คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อพืชมีการเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง

1. heterotopy คือการเกิดของอวัยวะในที่ที่ไม่ควรจะเกิด เช่นส่วนที่ควรจะเป็นกลีบดอก (petal) หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอก กลับเจริญเป็นใบ เรียกว่า phyllody หรือลักษณะอาการที่พืชซึ่งเจริญเต็มที่แล้วเกิดมีการสร้างใบที่มีรูปร่าง เหมือนใบของต้นอ่อน เรียกว่า juvenillody

2. russeting คือลักษณะอาการที่ผิวของผลหรือหัวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวหยาบ และขรุขระ เนื่องจากผนังเซลล์ผิวและเซลล์ที่อยู่ใต้เซลล์ผิวสร้าง suberin ขึ้น โดยที่ขนาดของเซลล์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง 

ภาพที่ 19 ลักษณะอาการ russeting ที่เกิดกับผลของแอปเปิ้ล
ที่มา : http://www.oznet.ksu.edu/dp_hfrr/extensn/problems/AppleRusseting.htm

3.4 Proleptic symptom คือลักษณะอาการที่เนื้อเยื่อพืชถูกสร้างขึ้นเร็วกว่าปกติ

1. prolepsis คือลักษณะอาการที่ยอดซึ่งยังพัฒนาไม่เต็มที่แตกออกมาจากตา มักจะเกิดขึ้นภายหลังเกิดโรค die – back หรือหลังจากที่กิ่งได้รับอันตราย

2. proleptic abscission คือลักษณะอาการร่วงหล่นของใบก่อนที่ใบจะแก่ เนื่องจากมีการสร้าง abscission layer ขึ้นที่ฐานของก้านใบเร็วกว่าปกติ

3. restoration คือลักษณะอาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งยังเจริญไม่เต็มที่เกิดการพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว เช่น การสุกก่อนกำหนดของผลไม้ที่ยังไม่โตเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น